การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย

วิภารัตน์ จอกทอง

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบระดับความฉลาดทางอารมณ์ รวมทั้งเปรียบเทียบพฤติกรรมการเคลื่อนไหวก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ และศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์จากการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัยอายุ 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบางจาก (นาเผื่อนอุปถัมภ์) เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 30 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนจัดประสบการณ์การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย 2) แบบประเมินพฤติกรรมการเคลื่อนไหว 3) แบบประเมินควาสมฉลาดทางอารมณ์ เด็ก 3-5 ปี ของกรมสุขภาพจิต 4) แบบสัมภาษณ์ผู้ปกครองที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ จากการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1) ระดับความฉลาดทางอารมณ์ หลังการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม

2) พฤติกรรมการเคลื่อนไหว หลังการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม

3) ความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ จากการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ในด้านต่างๆ ดังนี้

ก. ด้านดี เด็กปฐมวัยส่วนใหญ่ มีน้ำใจต่อกัน รู้จักแบ่งขนมหรือของเล่นเป็นประจำ สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ และเชื่อฟังปฏิบัติตามเชื่อฟังพ่อแม่ หรือผู้ใหญ่

ข. ด้านเก่ง เด็กปฐมวัยส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับสิ่งแปลกใหม่ แสดงอาหารออกมาตามความต้องการ สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น และซักถามผู้ปกครอง

ค. ด้านสุข เด็กปฐมวัยส่วนใหญ่เด็กมีความสุขกับกิจกรรม นำผลงานอวดของตนให้ผู้ปกครอง และชอบทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว เด็กเกิดความภูมิใจ

Keywords


การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ; ความฉลาดทางอารมณ์

Full Text:

PDF

References


กรมวิชาการ. (2546). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: กรมฯ.

กรมสุขภาพจิต. (2545). คู่มือการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์เด็กปฐมวัยอายุ 3-5 ปี. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต.

จันทนา บุปผาชาติ. (2548). ร้องเล่น เต้น ฟัง หลังเรียนดนตรี. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

ชุลีรัตน์ สมร่าง. (2553). การศึกษาพัฒนาการทางด้านร่างกายและพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย โดยการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบดนตรีไทยตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง