ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินในการดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

อิศรา ไกรนรา

Abstract


พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูยว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 มาตรา 37 การที่ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาและสอบสวนเสร็จแล้ว โดยปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมตามประมวลจริยธรรม ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินรายงานต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือสภาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี พิเคราะห์แล้วเห็นว่าผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีอำนาจลงโทษ หรือสั่งบังคับให้รัฐสภา คณะรัฐมนตรีหรือสภาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี (ผู้รับผิดชอบ) ดำเนินการให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรม ซึ่งถ้าหากว่าผู้รับผิดชอบดังกล่าวเห็นว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่มีความผิด หรือมีความเห็นแย้งและในทางปฏิบัติจริงส่วนใหญ่แล้ว ผู้รับผิดชอบของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่เป็นต้นสังกัดทางปกครอง จะมักไม่ลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาของตนตามความเห็นของผู้ตรวจการแผ่นดิน ทำให้คำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดินไร้ความหมาย ไม่มีประโยชน์ในทางปฏิบัติ จึงอาจทำให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่ใส่ใจต่อหลักการเกี่ยวกับจริยธรรมเสมือนหนึ่งว่ามีเพียงแต่กฎหมาย แต่หาได้ใช้บังคับได้จริงทั้ง ๆ ที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นองค์กรอิสระมีอำนาจหน้าที่ควบคุม ตรวจสอบและดำเนินการในกรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม

ผลการศึกษา วิเคราะห์รูปแบบและแนวคิดองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระจะสามารถใช้อำนาจ คือ อำนาจในการออกกฎระเบียบ อำนาจบังคับให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่วางไว้ รวมทั้งอำนาจวินิจฉัยว่าได้มีการกระทำฝ่าฝืนกฎระเบียบ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะพิเศษขององค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ จึงเห็นได้ว่าผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจในการออกกฎระเบียบและมีอำนาจบังคับให้เป็นไปตามกฎระเบียบ แต่กฎหมายไม่ได้กำหนดมาตรการในทางกฎหมายไว้ จึงควรให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจกำหนดมาตราการการบังคับทางกฎหมาย และควรมีการกำหนดมาตรการต่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วย

เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์โดยเห็นควรมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 มาตรา 37 วรรคสอง โดยการให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจกำหนดมาตรการในการใช้บังคับกฎหมาย และการลงโทษผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น โดยเมื่อผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาและสอบสวนเสร็จแล้ว  ปรากฎข้อเท็จจริงว่าการกระทำดังกล่าวของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ตามประมวลจริยธรรมให้ผู้ตรวจการแผ่นดินลงโทษปรับ และให้ส่งคำวินิจฉัยไปยังสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาแล้วแต่กรณี เพื่อให้พิจารณากำหนดโทษปรับตามความร้ายแรงแห่งการกระทำนั้น

Keywords


ผู้ตรวจการแผ่นดิน; อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินกับจริยธรรมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง; มาตรการทางกฎหมายด้านจริยธรรมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

Full Text:

PDF

References


จุลจักรพงษ์. (2499). จิตใจของคนอังกฤษในการรักษาความยุติธรรม. กรุงเทพฯ: ดุลพาห ฉบับพิเศษ กระทรวงยุติธรรม.

ชลัช จงสืบพันธ์ และคณะ. (2551). ความเป็นอิสระขององค์กรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. รายงานการศึกษาวิจัย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า

ฐิฎินันท์ ธรรมโชติ. (2542). ประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2551, 31 กรกฏาคม). ปาฐกถาพิเศษเรื่องจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ. กรุงเทพฯ: สำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง