ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

พิเชษฐ์ ไทยนิยม

Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)2) เปรียบเทียบระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จำแนกตามสถานภาพกิจการ 3) ศึกษาปัจจัยภายในและภายนอกกิจการที่มีความสัมพันธ์กับระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 4) ศึกษาปัจจัยภายในและภายนอกกิจการที่ส่งผลต่อระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 5) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางในการส่งเสริมความพร้อมของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จำนวนทั้งสิ้น 1,920 ราย (สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, 2558) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยจำนวน 330 รายเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเชิงคุณภาพ คือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 6 ท่าน และกลุ่มผู้บริหารในกระทรวงอุตสาหกรรม จำนวน 4 ท่าน เก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์เชิงลึก

ผลการวิจัยพบว่า1) ความพร้อมของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อยู่ระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือด้านการสร้างความเข้มแข็งด้าน Supply Chain Management 2) สถานภาพกิจการที่แตกต่างกันมีระดับความพร้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.053) ปัจจัยภายในด้านบุคลากรและด้านผลผลิต มีความสัมพันธ์กันกับระดับความพร้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) มี 3 ปัจจัย คือด้านบุคลากร ด้านผลผลิต และด้านงบประมาณที่ส่งผลต่อความพร้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5) ปัญหาอุปสรรค พบว่า มีปัญหาใน 3 ด้านคือ ด้านบุคลากร ด้านผลผลิต ด้านงบประมาณ แนวทางการส่งเสริม คือให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือและสนับสนุนอย่างจริงจัง 


Keywords


ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อม, การนำนโยบายไปปฏิบัติ, อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Full Text:

Untitled

References


กระทรวงอุตสาหกรรม. (2554). แผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พ.ศ. 2555-2574. วันที่ค้นข้อมูล 21กันยายน 2556, เข้าถึงได้จาก http://www.oie.go.th/policy7_th.asp

กล้า ทองขาว. (2548). การนำนโยบายและแผนการศึกษาไปปฏิบัติ :แนวคิดทฤษฎีและแนวทางการดำเนินงาน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

_______. (2534). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ:กรณีศึกษานโยบายรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือแห่งชาติ.วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรดุษฎีบัณฑิต : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เกษสุนีย์ บำรุงจิตต์,วรพล พนมพรสุวรรณ, ผ่องพรรณ จันทร์กระจ่าง. (2555). ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการเตรียมความพร้อมของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครสู่ประชาคมอาเซียน พ.ศ.2558. รายงานการวิจัย คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ตินปรัชญพฤทธิ์.(2550). Public Administration Theory.(มปท.) : วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่10). นนทบุรี: บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จำกัด.

ปภพพลเติมธีรกิจ. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดาเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการมหาวิทยาลัยศรีปทุม.

วรเดช จันทรศร. (2531). รัฐประศาสนศาสตร์: ขอบข่ายของทศวรรษใหม่. กรุงเทพมหานคร มูลนิธิ 30 ปีคณะรัฐประศาสนศาสตร์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

________. (2551). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิคจำกัด.

ศศิวิมลวรุณศิริ. (2553). ทักษะการดำรงชีวิตในสังคมโลก. กรุงเทพฯ : คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้า.

ศิริรุจจุลกะรัตน์. (2553). การศึกษาความพร้อมของอุตสาหกรรมไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC). สรุปการเสวนา Morning Talk . สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)กระทรวงอุตสาหกรรม.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2533). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. (2558). รายชื่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://eiu.thaieei.com/eiu/TableauPage.aspx?MenuID=35 (2558, 5 เมษายน).

สถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต (SMI) ร่วมกับ สายงานองค์กรระหว่างประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2554). รายงานผลการวิเคราะห์ขีดความสามารถในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)(ฉบับปรับปรุงข้อมูลณกันยายน 2554). โครงการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ SMEs ภาคการผลิตเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกรุงเทพฯ : สถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

สมพรแสงชัย. (2548). การวางแผนเชิงกลยุทธ์ภาครัฐ.กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Alexander, Emest R. (1985). From Idea to Action Note for a Contingency Theory of Policy Implementation Process.Administration & Society.Vol 16.

Barrett, Susan and Colin Fudge. (eds.). (1981). Policy and Action: Essays on the Implementation of Public Policy. New York: Methuen & Co., Ltd.

Blanco-Mancilla, Georgina. (2011). Implementation and governance: Current and future research on climate change policies.Thesis (Ph.D.).The London School of Economics and Political Science (LSE).

Gichoya, David. (2005). Factors Affecting the Successful Implementation of ICT Projects inGovernment.Research School of Informatics.Loughborough University. UK.

Greenwood, William T. (1977). Issues in business and society.Boston: Houghton Mifflin.

Fayol, Henri. (1964). General and industrial management.London : Pittman & Sons.

Lee, Ho Joon. (2009). A Study on the Factors Affecting Implementation of Privatization and Restructuring of the Electricity Industry Policy in Korea. Manchester for the degree of Ph.D. in the faculty of Humanities.Manchester Business School.

Leith, Kendra Sawyer. (2009). Challenges for implementing industrial policy in Mexico. Massachusetts Institute of Technology.Dept. of Urban Studies and Planning.Massachusetts Institute of Technology.

Mahendrawathi ER, AnisahHerdiyanti and Hanim Maria Astuti. (2014). Readiness of Indonesian Companies for ASEAN Economic Community (AEC) - Preliminary Findings from Automotive and Garment Industry.Department of Information Systems InstitutTeknologiSepuluhNopember Surabaya, East Java 60111, Indonesia.

Makinde, Taiwo. (2005). Problems of Policy Implementation in Developing Nations : The Nigerian Experience.Department of Public Administration.ObafemiAwolowo University.Ile-Ife. Nigeria.

Mckechine, Jean L. (1966). Webter’s New Twentieth Century Dictionary of the English Language. New York : The Delain Publishing Company Inc.

Mckechine, Noak. (1966). Webster’s Dictionary. New York : The world Publishing Center Cleveland

O'Toole Jr., Laurence J. (2000). Research on Policy Implementation: Assessment and Prospects.University of Georgia.

Radulovich, Lori Petrill. (2008). An Empirical Examinational Service of Factors Affecting Examination of the Internationalization of rofessional service SMEs : The Case of India. Doctor of business administration Cleveland state university.

Sabatier, Paul and Daniel Mazmanian. (1980). The Implementation of Public Policy: A Framework of Analysis.Policy Studies Journal Contents.Special issue.

_______. (1980). “The Implementation of Public Policy: A Framework of analysis”.Policy Studies Journal Contents 6(4). pp. 541-553.

Simon, Herbert A. (1947). Administration Behavior.New York: The Macmillan Company.

Skinner, Burrhus Frederic. (1965). Educational Psychology. New York : Prentice Hall Inc.

Staak, Anthony P. Strategies for Promoting Technology Development and Technology Transfer at South African Technikons.Degree of Master of Science in Technology and Policy.

Van Meter, Donald S. and Carl E. Van Hom. (1975). The Policy Implementation Process: A Conceptual Framework.Administration & Society.Vol 6.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง