การจัดทำบัญชีและรายงานบริษัท : วิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ....
Abstract
ในประเทศไทยมีการประกอบธุรกิจอยู่หลายประเภทและเกือบทุกธุรกิจมีการจดบันทึกรายการทางบัญชีและจัดทำรายงานผลการประกอบธุรกิจซึ่งแสดงฐานะการดำเนินงานของกิจการไว้ในรูปแบบทางการเงิน โดยนำหลักการใช้หน่วยเงินตรา (Monetary Unit Assumption) ซึ่งกิจการอาจนำเสนอข้อมูลในลักษณะพรรณนาโวหาร แต่ข้อมูลที่มีลักษณะดังกล่าวจะมีความหมายไม่ชัดเจนเท่ากับข้อมูลที่เป็นตัวเลขซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการนำข้อมูลทางการบัญชีและรายงานทางการเงินไปใช้ประกอบการตัดสินใจของประชาชน ภาครัฐบาลภาคเอกชนหรือผู้ประกอบธุรกิจด้วยกันโดยเฉพาะข้อมูลของบริษัทที่ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยนั้น การจัดทำบัญชีและรายงานบริษัทมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภาพรวมทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย รัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องเข้ากำกับดูแลและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยเป็นพิเศษ โดยในปี พ.ศ. 2551 กระทรวงการคลังได้ทำการยกร่างพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ..... ขึ้นด้วยมีเหตุผลมาจากความไม่เหมาะสมบางประการภายหลังจากได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมให้ใช้พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และควรปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปประกอบกับการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย เป็นการดำเนินธุรกิจในรูปแบบของบริษัทจำกัดและบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ต้องดำเนินงานภายใต้กฎหมายเฉพาะนั้น ๆ กว่าร้อยละ 10 เป็นกิจการที่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะ (Publicly Accountable Entities: PAEs) ถือเป็นการประกอบการ ที่มีการระดมเงินจากประชาชนในลักษณะที่คล้ายคลึงกับการประกอบธุรกิจสถาบันการเงินซึ่งสถาบันการเงินหมายถึงสถาบันที่ประกอบธุรกิจในตลาดการเงินโดยทำหน้าที่ระดมเงินทุนจากผู้ออมมาจัดสรรให้แก่ผู้ต้องการเงินทุน ส่วนการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยมีความแตกต่างจากสถาบันการเงิน ในสาระสำคัญอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ การประกอบธุรกิจประกันภัยเป็นการให้ความเสียหายทางเศรษฐกิจหรือทางการเงินแก่ผู้เอาประกันภัย หรือความเสียหาใด ๆ ขึ้น ผู้เอาประกันภัยจะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้น ในวงเงินที่เอาประกันภัยนั้นไว้ถือได้ว่า เป็นกฎหมายที่ลักษณะคล้ายคลึงกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างหนึ่ง
วิทยานิพนธ์นี้มุ่งเน้นการศึกษาในเรื่องของการจัดทำบัญชีและรายงานบริษัทที่ควรมีบทบัญญัติสอดคล้องกันแนวทางของ International Association of Insurance Supervisors: IAISซึ่งเป็นสมาคมกลางทำหน้าที่ออกแนวทางสากลในด้านการประกันภายและกฎหมายประกันภัยต่างประเทศ อาทิ ประเทศออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งจากการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาในการจัดทำบัญชีและรายงานบริษัทประกันวินาศภัย ตามร่างพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ... หมวด 4 การจัดทำบัญชีและรายงานบริษัทพบประเด็นปัญหาที่ควรพิจารณา คือ ระยะเวลาของการจัดเก็บสมุดทะเบียนและสมุดบัญชี อำนาจการออกประกาศหลักเกณฑ์การจัดทำบัญชีและรายงานบริษัท ความเป็นอิสระของผู้สอบบัญชี จรรยาบรรณของผู้สอบบัญชี อำนาจของนายทะเบียนในการเพิกถอนการให้ความเห็นของผู้สอบบัญชี ร่ายการย่อที่ต้องมีในงบการเงินตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ และการส่งรายหรือข้อมูลทางการเงินในรูปสื่อใด ๆ
ดังนั้น เพื่อให้เหมาะสมกับการจัดทำบัญชี และรายงานบริษัทในร่างพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ... ผู้เขียนจึงเสนอแนะบทบัญญัติและแนวทางแก้ไขร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เฉพาะในส่วนที่ยังบกพร่องอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นปัญหาที่ควรพิจารณาดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งเรื่องความไม่ชัดเจนของระยะเวลาการจัดเก็บเอกสารทางบัญชีและรายงานของบริษัทประกันวินาศภัยที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชียังคงต้องมีหน้าที่จัดเจ็บรักษาไว้ พร้อมทั้งได้เสนอแนะแนวทางวิธีการจัดเก็บเอกสารในรูปแบบเอกสารอเล็กทรอนิกส์ (Electronic Document Management) และปัจจุบัน มีพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ได้บัญญัติรับรองการจัดเก็บเอกสาร ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) รวมทั้งในอีก 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2561) ประเทศไทยจะสามารถพัฒนาระบบศาลยุติธรรมไปสู่ระบบศาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Court) ได้Keywords
Full Text:
PDFReferences
ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ 19) เรื่อง จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2553. (2553, 3 พฤศจิกายน). รชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 (ตอนพิเศษ 127 ง). หน้า 68.
จิตติ ติงศภัทิย์. (2545). กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประไพพิศ สวัสดิ์รัมย์. (2550). ระบบบัญชีระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Insurance Institute of America. (1996). The CPCU Handbook of Insurance Policies. ( 2nd ed.) United States of America.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง