การพัฒนากระบวนการจัดการความรู้มหาวิทยาลัยนานาชาติในประเทศไทย
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยนานาชาติในประเทศไทย เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของประเด็นการจัดการความรู้มหาวิทยาลัยนานาชาติในประเทศไทย และเพื่อประเมินรูปแบบการจัดการความรู้มหาวิทยาลัยนานาชาติในประเทศไทย โดยการดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์องค์ประกอบการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยนานาชาติในประเทศไทย โดยการสังเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวจ้องกับการจัดการความรู้ และแนวคิดการศึกษาหลักสูตรนานาชาติ และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษานานาชาติเอกชน จำนวน 3 ท่าน จาก 3 สถาบัน โดยใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์ วิเคราะห์ และสรุปเป็นตัวแปรเพื่อนำไปสร้างแบบสอบถาม ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาระดับความสำคัญของประเด็นการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยนานาชาติในประเทศไทย โดยนำแบบสอบถามที่สร้างไปเก็บข้อมูลโดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารจากสถาบันอุดมศึกษานานาชาติเอกชนที่มีหลักสูตรนานาชิตมากกว่าร้อยละ 50 จำนวน 50 ท่าน จาก 11 สถาบันการศึกษา หลังจากนั้นนำผลไปวิเคราะห์หาองค์ประกอบที่เหมาะสม ได้รูปแบบการจัการความรู้ของมหาวิทยาลัยนานาชาติในประเทศไทย ขั้นตอนที่ 3 ประเมินองค์ประกอบการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยนานาชาติในประเทศไทย ด้วยวิธีสนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุมิด้านการบริหารการศึกษา ด้านการจัดการความรู้ และด้านการอุดมศึกษา
ผลวิจัยพบว่า
1. วิเคราะห์องค์ประกอบการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยนานาชาติในประเทศไทย ผลการวิจัยได้องค์ประกอบของการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบดังนี้ 1) การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม 2) การพัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบ 3) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม 4) การจัดการความรู้ 5) การจัดระบบเทคโนโลยีและการสื่อสาร 6) วัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ 7) โครงสร้างองค์กร
2. การศึกษาระดับความสำคัญของประเด็นการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยนานาชาติในประเทศไทย ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษานานาชาติเอกชนมีความเห็นว่าทุกองค์ประกอบการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยนานาชาติในประเทศไทยมีระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก
3. การประเมินองค์ประกอบการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยนานาชาติในประเทศไทย โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผ่านการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผลการประเมิน พบว่า องค์ประกอบการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยนานาชาติในประเทศไทย มีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ให้สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีการวิจัยKeywords
Full Text:
PDFReferences
บุญส่ง หาญพานิช. (2546). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษาไทย. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยะนาถ บุญมีพิพิธ. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของสถานศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้ : พื้นฐานและการประยุกต์ใช้ (Knowledge Management). กรุงเทพฯ: ธรรกมลการพิมพ์
พรพิมล หรรษาภิรมย์โชค. (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้สำหรับหน่วยงานภาครัฐ. ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารทางการศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. (2547). การจัดการความรู้เพื่อคุณภาพที่สมดุล. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง