ปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีกรทางอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Abstract
ปัญหาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนใหญ่มาจากการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง การศึกาปัญหาการจัดซื้ดจัดจ้างมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ให้เห็นถึงสภาพการทุจริตในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและมาตรการและกลไกการป้องกันทุจริตโดยเฉพาะแนวทางการพัมนาและเสริมสร้างกลไกการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย มีทั้งในรูปแบบการจัดซื้อจัดจ้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีวงเงินรวมเกินสองล้านบาท จะต้องดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามประกาศกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เรื่อง หลักเกณฑ์การซื้อหรือการจ้างโดยประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นกฎหมายลำดับรองโดย ข้อ 6 (6) ของประกาศดังกล่าวกำหนดว่า ผู้ค้าจะเสนอราคาที่ใดก็ได้ ยกเว้นสำนักงานของตลาดกลางนั้น การบัญญัติเช่นนี้เป็นการขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม และก่อให้เกิดปัญหาการสมยอมการเสนอราคาได้ง่าย กล่าวคือ การตรากฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ค้าจะไปดำเนินการเสนอราคาที่สถานประกอบการของตน เป็นการกระทำที่ไม่เปิดเผย อาจก่อให้เกิดการกระทำที่มีเจตนาทุจริตได้ เพราะว่าผู้ค้าอาจจะมีการแอบหรือลักลอบโทรศัพท์ถึงกันเรื่องของการเสนอราคา หรืออาจจะมีการสมยอมการเสนอราคากันได้ อีกทั้งผลของการเสอนราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์จะไม่ถูกเปิดเผยต่อสาธารณชน ย่อมเป็นเหตุให้ผู้ค้าจะทราบผลของการเสนอราคาในระหว่างผู้ค้าด้วยกันและทำให้ไม่เกิดการแข่งขันราคาโดยเสรีอย่างเป็นธรรมตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ การตรากฎหมายลำดับรองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดว่า ผู้ค้าจะเสนอราคาที่ใดก็ได้ ยกเว้นสำนักงานของตลาดกลางนั้น ทำให้เกิดช่องว่างทางกฎหมาย และเปิดโอกาสให้เกิดการฉ้อราษฎร์บังหลวงขึ้นในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเป็นช่องทางให้ผู้ค้ามีการสมยอมการเสอนราคากันหรือมีการฮั้วประมูลเกิดขึ้นได้ง่าย การสมยอมการเสนอราคา เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐที่จะต้องสูยเสียงบประมาณสูงกว่าที่ควรจะเป็นในการจัดซื้อจัดจ้าง และเป็นสาเหตุทำให้คุณภาพของพัสดุและงานลดลง เพราะค่าจ้างที่รัฐจัดหาต้องถูกนำไปจ่ายตามข้อตกลงของการสมยอมการเสนอราคา รัฐจึงได้ตรากฎหมายพิเศษขึ้นมาเพื่อป้องกันและปราบปรามการฮั้ว คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 การตรากฎหมายลำดับรองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเรื่องจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เกิดการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพราะเงินที่นำมาจัดซื้อจัดจ้างมาจากงบประมาณของแผ่นดิน ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การเงิน และการคลังของประเทศ ตลอดจนส่งผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน และความเชื่อถือของประชาชนรวมทั้งนานาอารยประเทศ
กรณีนี้เป็นปัญหาข้อบกพร่องของการตรากฎหมายลำดับรองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการออกกฎที่ไม่ของด้วยกฎหมาย ทำให้เกิดการฮั้วประมูล การทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ทั้งนี้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของประเทศไทยมีหลายฉบับและไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้ส่งผลกระทบต่อการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ การปราบปรามความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ
ดังนั้น จึงเห็นควรยกเลิกความในข้อ 6 (6) ของประกาศกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่อง หลักเกณฑ์การซ้อหรือการจ้างโดยประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่กำหนดว่า ผู้ค้าจะเสนอราคาที่ใดก็ได้ ยกเว้นสำนักงานของตลาดกลาง และควรรวบรวมกฎหมายจัดซื้อจัดจ้างของประเทศไทยให้เป็นฉบับเดียวกัน เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดการทุจริตในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของประเทศไทยขยายตัวเป็นวงกว้างออกไป และเกิดความเสียหายแก่รัฐมากขึ้น ประเทศไทยควรจะมีการตรากฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ เช่น พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐแห่งชาติ เพื่อใช้บังคับกับหน่วยงานของรัฐต่าง ๆ ของประเทศไทยนั้น ต่างก็ได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นเงินที่มาจากงบประมาณของแผ่นดินแทบทั้งสิ้น จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างหลายฉบับ และการที่ประเทศไทยจะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเพียงฉบับเดียวนั้น จะทำให้เกิดการบูรณาการในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเป็นไปในแนวทางทิศทางเดียวกัน เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐKeywords
Full Text:
PDFReferences
จิรนิติ หะวานนท์. (2554). คำอธิบายกฎหมายปกครอง (ภาคทั่วไป) (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: พลสยาม พริ้นติ้ง.
ธานินทร์ เปรมปรีดิ์. (2553). ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์. (2553). นักการเมืองไทย : จริยธรรม ผลประโยชน์ทับซ้อน การคอร์รัปชั่น สภาพปัญหา สาเหตุ ผลกระทบ แนวทางแก้ไข (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สายธาร.
ธีระพล บุญโญภาส. (2552). อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ Economic crime (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง