การศึกษาความต้องการอาชีพระยะสั้น ชุมชนชัยบาดาล อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

ศุทธวดี เววา

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการอาชีพระยะสั้นของชุมชนชัยบาดาล เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากจำนวน ตัวอย่าง 567 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรุป spssหาค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า จากการศึกษาสำรวจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 61 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 27 มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 64 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 45 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 54 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 35 และส่นวใหญ่มีรายได้ระหว่าง 3,001 - 5,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 60 ไม่เคยฝึกประสบการณ์ทางด้านอาชีพระยะสั้น ด้านความต้องการการอาชีพระยะสั้น พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการการอาชีพระยะสั้นในระดับสูง โดยเรียงลำดับจากระดับมากลำดับที่ 1 – 5 ได้แก่ การปลูกพืชไร้ดิน การประดิษฐ์ของชำร่วย น้ำสมุนไพร การเกษตรผสมผสาน และการทาบกิ่ง ติดตา ต่อกิ่ง ปักชำ เสียบยอด โดยมีความต้องการระยะเวลาในการฝึกอบรม 2 วัน เวลาในการฝึกอบรม คือ ช่วงเวลาและใช้สถานที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน

Keywords


การศึกษาความต้องการอาชีพระยะสั้น; ชุมชนชัยบาดาล

Full Text:

PDF

References


กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2532). ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ). กรุงเทพฯ. กรมการศึกษานอกโรงเรียน. (2538). การศึกษาตลอดชีวิตการศึกษาของคนไทยในยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กาญจนา แก้วเทพ. (2530). การพึ่งตนเอง ศักยภาพในการพัฒนาของชนบท. กรุงเทพฯ: สภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา.

จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ. (2541). สถานภาพเด็กเยาวชนและครอบครัวไทยในยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง.

จำนง อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ. (2545). สังคมวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2529). บ้านกับเมือง. กรุงเทพฯ: โครงการส่งเสริมสถาบันหมู่บ้าน.

Lewis Mumford.(1937). “What Is a City?” from Architectural Record. In R. T. LeGates and F. Stout (ed.) 2000.The City Reader. 2nd ed. PP. 92-96 London and New Yourk: Routledge.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง