รูปแบบการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว เชิงโบราณสถาน ปราสาทสด๊กก๊อกธม ด้วยกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา

ไกรราชกช พลรัตน์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูป
แบบการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว
เชิงโบราณสถานปราสาทสด๊กก๊อกธม การวิจัยแบ่ง
เป็น 4 ระยะ คือ ศึกษาสภาพ ปัญหา และความ
ต้องการ พัฒนารูปแบบ ทดลองใช้รูปแบบ และ
ประเมินรูปแบบการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงโบราณสถานปราสาทสด๊กก๊
อกธม ด้วยกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา กลุ่ม
ตัวอย่าง ได้แก่ ประชากรในพื้นที่อำเภอโคกสูง
4 ตำบล และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว เครื่องมือที่ใช้ในการ
วิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ คู่มือการ
อบรมยุวมัคคุเทศก์ และแบบทดสอบวัดจิตสำนึก
การนำเที่ยว ด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ
ของยุวมัคคุเทศก์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ
ค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวน
ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนมีความคิดเห็น
เกี่ยวกับสภาพและปัญหาการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงโบราณสถานปราสาทสด๊กก๊อกธม
อยู่ในระดับน้อยและปานกลาง ส่วนความต้องการให้
มีการสำรวจข้อมูลการอบรมยุวมัคคุเทศก์ และ
ติดตามประเมินผล หลังจากนั้นใช้ผลการศึกษามา
พัฒนารูปแบบการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมใน
แหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานปราสาทสด๊กก๊อกธม
6 ขั้นตอน ได้แก่ วิเคราะห์ประเด็นปัญหา เลือก
ปัญหา กำหนดวิธีการปรับปรุงประเด็นปัญหา สร้าง
รูปแบบการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประชุมแลก
เปลี่ยนเรียนรู้และประเมิน และรายงานผล ผลการ
ทดลองใช้รูปแบบ โดยการอบรมยุวมัคคุเทศก์ พบว่าจิตสำนึกต่อการนำเที่ยว เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
แหล่งท่องเที่ยวเชิงโบราณสถานปราสาทสด๊กก๊อก
ธม ด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติของ
ยุวมัคคุเทศก์หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม
และการประเมินรูปแบบการจัดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงโบราณสถานปราสาทสด๊กก๊อกธม
ด้วยกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา อยู่ในระดับมาก
ที่สุด


Keywords


รูปแบบการจัดการ, การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, แหล่งท่องเที่ยวเชิงโบราณสถาน

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง