การจัดการความรู้ทางด้านการมีส่วนร่าวมของชุมชนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้

ณรงค์ กุลนิเทศ

Abstract


การวิจัยเรื่องการจัดการความรู้ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวัตถุประสงค์
เพื่อวิเคราะห์กระบวนการดำเนินงาน ค้นหาถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน รวมทั้งปัจจัยที่มีผล
ต่อการดำเนินงานทางด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม เพื่อ
สนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งสร้างคู่มือในการจัดการความรู้ทางด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาระบบงานทางด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมและการก่อความไม่สงบในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มเป้าหมาย คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ทหาร เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานทางด้านชุมชนมวลชนสัมพันธ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กลุ่มผู้พิพากษาและอัยการ กลุ่มผู้นำทางศาสนา กลุ่มเอ็นจีโอ กลุ่มสื่อมวลชน รวมทั้งกลุ่มผู้นำชุมชนต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ การประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Storytelling) และการประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) เพื่อสกัดเอาความรู้โดยใช้กระบวนการ “การจัดการความรู้” โดยการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล และเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ
ผลการวิจัยพบว่า
1. กระบวนการดำเนินงานทางด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องคำนึงถึงประเด็นสำคัญ ๆ 4 ประเด็นหลัก ๆ ได้แก่ 1) การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของเจ้าหน้าที่รัฐต้องยึดถือรูปแบบสันติวิธี โดยสร้างความเชื่อถือ ลดเงื่อนไข ปรับทัศนคติและพฤติกรรม ไม่ทำการปราบปรามที่รุนแรงจนเกินไป 2) มีการบูรณาการทุกหน่วยงานทั้ง ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง และเจ้าหน้าที่ของรัฐการทำงานโดยความร่วมมือทุกฝ่าย การประสานงานกันอย่างดี เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้ประชาชนมีความศรัทธา แล้วให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี 3) เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรักษาความลับและความปลอดภัยของประชาชนผู้ให้ความร่วมมือ แจ้งเบาะแสของคนร้ายที่ประกอบอาชญากรรม รวมทั้งดูแลความปลอดภัยของคนในครอบครัวของประชาชนที่แจ้งเบาะแส จะทำให้ได้รับความร่วมมือจากประชาชนได้มากขึ้น 4) แก้ไขปัญหาทางด้านศาสนา การศึกษา การให้ความรู้เพื่อให้ชาวพุทธและมุสลิมเดินไปในแนวทางเดียวกัน

2. ปัญหาและอุปสรรคทางด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม สรุปได้ว่ามีปัญหาทางด้านกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม กฎหมายบางฉบับ ประชาชนมักมองว่าไม่ได้เอื้ออะไรให้กับประชาชนทำให้ประชาชนขาดความศรัทธา ปัญหาทาง
ด้านเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาจะทำให้คนในพื้นที่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สร้างโอกาสให้คนที่ยากจนจริง ๆ มีอาชีพและรายได้ ดีขึ้น ปัญหาด้านการขาดแคลนบุคลากร เช่น เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานทางด้านรักษา
ความปลอดภัยให้กับประชาชนในหมู่บ้าน ปัญหาทางด้านงบประมาณ การติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิดใน
บางพื้นที่ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เงินเดือนที่ให้กับตำรวจอาสามีไม่เพียงพอ รวมทั้งความจริงใจ
ของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีต่อประชาชน การปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความถูกต้องยุติธรรม ไม่กลั่นแกล้งหรือ
รังแกประชาชน
3. ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินการทางด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันอาชญากรรม
คือ รัฐต้องให้ความสำคัญทางด้านการศึกษา เพื่อให้ประชาชนมีการศึกษาที่สูงพอ ให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ให้กว้างและมากขึ้น นโยบายของรัฐบาลต้องใช้หลักที่ว่าความจริง ความศรัทธา ความเชื่อมั่นหากให้ใจเขา เขาจะให้ใจเรา หากหลอกเขา เขาจะหลอกเรา หลักการมีส่วนร่วม คือ หัวหน้าส่วนราชการต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษา เช่น ผู้กำกับการสถานีตำรวจต้องร่วมมือกับนายอำเภอเข้าไปมีส่วนร่วมกับประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งองค์กรในระดับนโยบาย และระดับหัวหน้าหมู่บ้าน ต้องให้การสนับสนุนการมีส่วนร่วม และต้องสร้างการมีส่วนร่วมในระดับรากหญ้าและครอบครัว จะทำให้ได้รับความร่วมมือจากประชาชนอย่างแท้จริง


Keywords


การจัดการความรู้; การมีส่วนร่วมของชุมชน;การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม;3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

Full Text:

PDF

References


ณัฏฐ์ สมบูรณ์. (2551). การมีส่วนร่วมของทนายความในการค้นหาพยานหลักฐานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ในการดำเนินคดีทางอาญา. ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณุชชนา สวัสดี. (2553). วิธีปฏิบัติในการรักษาสภาพสถานที่เกิดเหตุในคดีฆาตกรรม. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ยุพาพร รูปงาม. (2545). การรส่วนร่วมของข้าราชการสำนักงบประมาณ ในการปฏิรูประบบราชการ. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อคิน รพีพัฒน์, ม.ร.ว. (2527). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการพัฒนาชนบทในสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทยใน ทวีทอง หงส์วิวัฒน์, หน้า 104-114. กรุงเทพฯ : ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

Cretacci, M. A. (2003). Religion and social control: An application of a modified social bond on violence. Criminal Justice Review, 28, 254-277.

Hoffman (2002). A Contextual Analysis of Differential Association, Social Control, and Strain Theories of Delinquency: http://holyspiritlibrary.pbworks.com/w/file/fetch/46470084/CrimTheoryWiki.pdf.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง