กลยุทธ์การตลาดธุรกิจสายการบินโดยสารที่ส่งอิทธิพล ต่อการรับรู้คุณภาพการบริการของผู้โดยสารชาวไทย กรณีศึกษาเปรียบเทียบสายการบินไทยสมายล์ และสายการบินราคาประหยัด

สุภาวดี บุญญาลงกรณ์

Abstract


       การวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การตลาดธุรกิจสายการบินโดยสารที่ส่งอิทธิพลต่อการรับรู้คุณภาพการบริการของผู้โดยสารชาวไทย กรณีศึกษาเปรียบเทียบสายการบินไทยสมายล์ และสายการบินราคาประหยัด

       ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) แบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม (Questionnaire) จากกลุ่มตัวอย่างที่คนไทยที่ใช้ หรือเคยใช้บริการ สายการบินราคาประหยัด จำนวน 400 คน การสุ่มตัวอย่างการวิจัยในครั้งนี้ ใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non Probability Sampling) โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างตามแบบความสะดวก (Conveniences Sampling) ซึ่งเป็นการสุ่มตัวอย่างที่เลือกใครก็ได้ที่เป็นผู้ใช้บริการสายการบินเพื่อเดินทางทั้งเส้นทางภายในและนอกประเทศ

        ผลการวิจัยพบว่าลูกค้ามีความพึงพอใจในการรับรู้คุณภาพของการบริการในภาพรวมทั้ง 5 มิติอันได้แก่ SEQ1: ความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ SEQ2: การตอบสนอง SEQ3: การสร้างความมั่นใจ  SEQ4: การดูแลเอาใจใส่ (อยู่ในระดับค่อนข้างมาก) SEQ5: รูปลักษณ์ทางกายภาพ ปัจจัยด้านประเภทของธุรกิจสายการบินโดยสารมีอิทธิพลต่อการรับรู้คุณภาพการบริการของผู้ใช้บริการจากผลการวิจัยพบว่าไม่มีความแตกต่างของระดับค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ ปัจจัยส่วนผสมการตลาดบริการทั้ง 7 ด้านได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา สถานที่ การส่งเสริมการขาย บุคลากร สภาพแวดล้อมการบริการ และ กระบวนการบริการ มีความสัมพันธ์กับการรับรู้คุณภาพการบริการ (ความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ การตอบสนอง การสร้างความมั่นใจ การดูแลเอาใจใส่ รูปลักษณ์ทางกายภาพ)


Keywords


สายการบินราคาประหยัด, คุณภาพการให้บริการ, ปัจจัยส่วนประสมการตลาด

Full Text:

Untitled

References


ภาคิน นิมมานนรวงศ์. (2557, 9 มกราคม). อนาคตและความท้าทายของธุรกิจการบินในน่านฟ้าอาเซียน. กรุงเทพธุรกิจ.

ศิริพงศ์ พฤทธิพันธ์. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ฮาซัน พริ้นติ้ง จำกัด.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2555). ธุรกิจการบินของไทยช่วงที่เหลือของปี 2555 ยังเติบโต...แต่ยังต้องเร่งสร้างศักยภาพรองรับ AEC (มองเศรษฐกิจฉบับที่ 3348). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ กันยายน 3, 2557, จาก https://www.kasikornresearch.com/th/k-econanalysis/pages/ViewSummary.aspx?docid=29466.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง