แนวคิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย

วรวิทย์ จินดาพล

Abstract


       การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม ของบุคลากรภาครัฐในประเทศไทย เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการปฏิรูประบบราชการไทยใน ปี พ.ศ. 2551 – 2555 ตามแผนยุทธศาสตร์ที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) นำเสนอคณะรัฐมนตรีไทย มีแนวคิดสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคลากรภาครัฐ ใน 8 ด้าน กล่าวคือ  1) การทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี (Integrity) 2) ความขยันตั้งใจทำงานเชิงรุก (Activeness) 3) การมีศีลธรรมและคุณธรรม (Morality) 4) การเรียนรู้และการปรับตัวทันโลก 5) การทำงานที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพ (Efficiency) 6) ความรับผิดชอบต่อผลงาน (Accountability) 7) การกระทำที่เป็นประชาธิปไตย (Democracy) 8) การมั่งผลงานเชิงประจักษ์ ซึ่งส่วนราชการได้นำยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ จากการประเมินผลการพัฒนาตามแนวคิดดังกล่าวข้างต้น พบว่า หน่วยงานภาครัฐสามารถดำเนินการบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนี้คือ 1) ประชาชนมีความพึงพอใจในคุภาพการให้บริการและเชื่อมั่นศรัทธาต่อระบบราชการมากขึ้น 2) บทบาทภารกิจและขนาดของระบบราชการที่ปรับเปลี่ยนใหม่มีความเหมาะสมสามารถควบคุมขนาดกำลังคนภาครัฐได้ตามเป้าหมาย 3) ขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานของระบบราชการอยู่ในระดับค่อนข้างสูง 4) มีการเปิดระบบราชการไทย เข้าสู่กระบวนการความเป็นประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขว้างมากขึ้น (แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2551 – 2555, หน้า 17)

     การเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกในยุคโลกาภิวัตน์ส่งผลกระทบให้องค์การภาครัฐและภาคเอกชน
ต้องพยายามเร่งรัดการปฏิรูประบบการบริหารจัดการให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นกระบวนการขับเคลื่อนองค์การจะต้องเป็นพันธกิจสำคัญ และเป็นนโยบายเร่งด่วนในทุกรัฐบาล

     บทความนี้มีสาระสำคัญประกอบด้วย แนวคิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ แนวคิดการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การ แนวคิดการปรับเปลี่ยนค่านิยมที่สอดคล้องกับค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ
ตามแนวทางที่รัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อมุ่งหวังให้มีคนไทย “มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ตามปณิธานที่นำเสนอต่อสาธารณะ

 

Keywords


แนวคิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์

References


การปฏิรูประบบราชการ : ยุทธศาสตร์สำคัญของการเปลี่ยนแปลง. (2541). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ, สำนักงานคณะกรรมการพลเรือน.

ดรัคเกอร์, ปีเตอร์ เอฟ. (2544). การบริหารจัดการในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สยามศิลป์ พริ้น แอนด์ แพ็ค จำกัด.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2549). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารราชการแนวใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบ.

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2546). ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: แซทโฟร์ พริ้นติ้ง.

แผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการ (พ.ศ. 2540-2544). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ, สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

พิทยา บวรวัฒนา. (2541). รัฐประศาสนศาสตร์ : ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา (ค.ศ. 1887-1970) (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2553). ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ : กระบวนทัศน์ใหม่และผู้นำใหม่ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัครัส สิธิ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพกับการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรมและค่านิยมในการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐของหน่วยงานราชการบริหารส่วนภูมิภาค สังกัดกระทรวงมหาดไทย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2546-2550). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.).

วรเดช จันทรศร. (2549). ปรัชญาการบริหารงานภาครัฐ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สหายบล๊อกและการพิมพ์.

วรวิทย์ จินดาพล. (2550). การเปลี่ยนแปลงขององค์การวิชาชีพ : กรณีมหาวิทยาลัยราชภัฏ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต รัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2548). การบริหารงานบุคคลภาครัฐไทย : กระแสใหม่และสิ่งท้าทาย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุดทอง.

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2548). 50 ปี คณะรัฐประศาสนศาสตร์ (พ.ศ. 2498-2548). กรุงเทพฯ: สยามทองกิจ.

สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์. (2548). หลักรัฐประศาสนศาสตร์ : แนวคิดและทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: รัตนาพรชัย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2548). การบริหารการเปลี่ยนแปลง : โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ก. พลพิมพ์ (1996) จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2544). โครงสร้างการปฏิวัติในวิทยาศาสตร์ (แปลจาก The structure of Scientific Revolutions by Thomas S. Kuhn). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

อุทัย เลาหวิเชียร. (2545). รัฐประศาสนศาสตร์: ลักษณะวิชาและมิติต่าง ๆ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง