ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการโรงแรมพัทยา ปาร์ค บีช รีสอร์ท ของนักท่องเที่ยวชาวไทย
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้บริการโรงแรมพัทยาปาร์ค บีช รีสอร์ท ของนักท่องเที่ยวชาวไทยจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการโรงแรมพัทยาปาร์ค บีช รีสอร์ท ของนักท่องเที่ยวชาวไทย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากกลุ่มตัวอย่างชาวไทยที่ใช้บริการโรงแรมพัทยาปาร์ค บีช รีสอร์ท จำนวน 400 ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามซึ่งผ่านการทดสอบความเชื่อมั่น (reliability) ด้วยค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช (Cronbach, Alpha coefficient)เท่ากับ 0.9631 ทำการวิเคาระห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows Version 11.5 สถิติที่ใช้ประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)การทดสอบการแจกแจง(t-test) การวิเคราะห์
ความแปรปรวนทางเดียว (one – way ANOVA)
การเปรียบเทียบค่าผลต่างที่มีนัยสำคัญที่น้อยที่สุดของฟิชเชอร์ (Fisher,s least significant difference--LSD) และการทดสอบสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson, correlation coefficient) โดยการทดสอบที่ระดับนัยสำคัญ เท่ากับ .05
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุน้อยกว่า 20-30 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีสถานภาพโสด มีอาชีพนักเรียน นักศึกษา มีรายได้เฉลี่ย ตำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน และมีวัตถุประสงค์เพื่อการท่องเที่ยวและพักผ่อนมากที่สุด ผู้ตอบแบบสอบถามมีการใช้บริการเฉลี่ย 2 วัน โดยมีการใช้บริการในระดับราคา 2,600 บาท ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการของโรงแรมพัทยาปาร์ค บีช รีสอร์ท โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก
ผลการทดสอบสมมติฐานทำให้ทราบว่า
1. ผู้ใช้บริการที่มี อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้บริการ
ด้านราคาที่เข้าพักแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ผู้ใช้บริการที่มี เพศ สถานภาพ แตกต่างกัน มีมีพฤติกรรมการใช้บริการด้านราคาที่เข้าพักไม่แตกต่างกัน
3. ผู้ใช้บริการที่มี เพศ อายุ การศึกษา แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้บริการด้านระยะเวลาที่เข้าพักแตก ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผู้ใช้บริการที่มี สถานภาพ อาชีพรายได้ แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้บริการด้านระยะเวลาที่เข้าพักไม่แตกต่างกัน
5. ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการโดยรวมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการด้านราคาที่เข้าพัก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการโดยรวมไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการด้านระยะเวลาที่ เข้าพัก
Full Text:
PDFReferences
การะเกด แก้วมรกต (2554)
ขวัญหทัย สุขสมณะ. (2545). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการโรงแรม ในอำเมืองเชียงราย. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ข้อมูลการท่องเที่ยวเมืองพัทยา www.pattaya.go.th
ฉัตรยาพร เสมอใจ. (2545). การตลาดธุรกิจบริการ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2546). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ส.เอเชีย เพรส (1989).
ตุ้ย ชุมสาย, ม.ร.ล., ญิบพัน พรมโยธิ. (2527). ปฐมบทแห่งวิชาการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิชย์.
มณีรัตน์ สองศรี. (2551). “บทสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการมาใช้บริการโรงแรม”. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 15, 2555, จาก http://www.research.rmutt.ac.th.
วีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2548). คุณภาพในงานบริการ. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ส.ส.ท.; Boulder,colo.: Netlibrary.
ปิยพรรณ กลั่นกลิ่น. (2546). การปฏิบัติงานและการจัดการส่วนหน้าของโรงแรม. (พิมครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ปิยะนุช กลิ่นจันทร์. (1999). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการโรงแรมซิลเวอร์แซด์. วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
ธงชัย สันติสงษ์ (2540 : 29)
สินีนาถ ตันตราพล. (2546). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการโรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศศิกาญจน์ สุรินทร์ต๊ะ. (2548). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรมของผู้ใช้บริการชาวไทยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. ค้นคว้าแบบอิสระ ศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศุภลักษณ์ อัครางกูร. (2549). พฤติกรรมนักทอ่งเที่ยว (พิมครั้งที่ 1). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย.
อดุลย์ จาตุรงคกุล และดลยา จาตุรงคกุล. (2546). พฤติกรรมผู้บริโภคฉบับมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
____. บทสัมภาษณ์ส่องโลกเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน, 29, 2554, จาก http://marketingmove.net/wordpress
อภิศักดิ์ จรดล (2550 : บทคัดย่อ)
อัครเดช เนตรสุวรรณ์ (2555 : บทคัดย่อ)
Hoffman, K. D., & Bateson, J. E. G. (2006). Services marketing: Concepts, strategies & Cases. Mason, OH: Thomson South-Western.
Millet, J. D. (1954). Management in the public service. New York: McGraw-Hill.
Maslow, Abraham. (1970). Motivation and Personnality. New York: Harper and Row Publishers. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 23, 2554, จาก http://www.kmitnbxmie8.com.
Maslow, A.H. (1962). Quoted in Ernest R. Hilgard, Introduction to Psychology. 3 rd ed. New York: Harcourt Brace & World สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 23, 2554, จาก http://th.wikipedia.org.
Rhodes, R. A. W. (1996). The new governance: Governing without government. Political Study. 44(11), 112-115.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง