ปัจจัยค่านิยมและส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการตัดสินใจเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร

กมล โสระเวช

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาค่านิยมในการตัดสินใจเลือกซื้อ
กระเป๋าแบรนด์เนมของผู้หญิงวัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาส่วนประสม
ทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกซื้อกระเป๋า
แบรนด์เนม ในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อพฤติกรรมในการตัดสินใจเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมของผู้หญิงวัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร
แบบของการวิจัยและพัฒนา โดยการผสมผสาน
วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและใช้บทสัมภาษณ์ผู้ประกอบการเพื่อนำข้อมูลมาซับพอร์ตกับแบบสอบถามให้มีนำหนักในการวิจัยครั้งนี้
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือผู้หญิงวัยทำงานที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน
385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง 385 คน

วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูล
โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) แล้วสรุปออกมาเป็นค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean : x) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ใช้ค่า Chi Square(x2) ด้วยวิธีของเพียร์สัน เพื่อวิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ของตัวแปร
ผลการศึกษาพบว่า
1. ค่านิยมที่ว่าการใช้กระเป๋าแบรนด์เนมแล้วทำให้เกิดความมั่นใจกล้าเข้าสังคมชั้นสูง ทำให้เป็นคนทันสมัย เพื่อยกระดับฐานะทางสังคม เมื่อมี
รายได้สูงขึ้นมักจะเลือกกระเป๋าแบรนด์เนมยี่ห้อ
ที่แพงขึ้น ตามค่านิยมของพวกสังคมชั้นสูง
2. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมของผู้หญิงวัยทำงาน ด้านผลิตภัณฑ์ โดยรวมผู้บริโภคมีการตัดสินใจอยู่ในระดับมากที่สุด

3. พฤติกรรมในการซื้อ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่นิยมบินไปซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมที่ต่างประเทศเอง หรือไม่ก็ซื้อตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ซึ่งมีความถี่ในการใช้บริการ 1-2 ครั้ง/ปี ช่วงเวลาที่นิยมซื้อคือต้นปี เนื่องจากได้รับโบนัสตอนปลายปี จึงทำให้อยากซื้อกระเป๋า
แบรนด์เนมเพื่อเป็นรางวัลตอบแทนให้กับตนเอง โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้งประมาณ 20,001-40,000บาท มีแหล่งข้อมูลข่าวสารจากอินเทอร์เน็ต และส่วนใหญ่จะไปซื้อของคนเดียว ส่วนผู้ที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจจะเป็นตนเอง ชำระเงินด้วยบัตรเครดิต ในการจัดโปรโมชั่นเพื่อเป็นการดึงดูด
ผู้บริโภคให้มาซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมเพิ่มขึ้น


Full Text:

PDF

References


ชนาธิป นิธิวรรณกุล. (2555). ปัญหาค่านิยมทางวัตถุของสังคมไทยในปัจจุบัน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ มกราคม 10, 2557, จาก http://sd-group2.blogspot.com/2012/12/53241806.html.

พรรณธิชา ศิริโภคพัฒ. (2553). การตัดสินใจซื้อสินค้าเลียนแบบแบรนด์เนมต่างประเทศ

ของประชาชน ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ภาสวรรณ ธีรอรรถ. (2555). บุคลิกภาพและค่านิยมที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมผู้บริโภค

เพศหญิง ในการเลือกซื้อกระเป๋าหลุยส์ วิตตอง ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

โศรยา สิ่งชูวงศ์. (2546). วิวัฒนาการแหล่งท่องเที่ยว:กรณีเกาะช้าง จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล.

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. (2555). ค่านิยมแบรนด์เนม. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ มกราคม 21, 2557, จาก http://www.dailynews.co.th/Content/Article.

หนังสือพิมพ์เนชั่น. (2551). สินค้าแบรนด์เนม. ฉบับที่ 426. (ออนไลน์) จาก http://www.nationejobs.com/citylife/content.php?ContentID=1103.

อายุวรรณ อัจฉริยวงศ์กุล. (2547). ศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าเลียนแบบแบรนด์เนมต่างประเทศของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจ

มหาบัณฑิต สาขาการตลาด. บัณฑิตวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง