ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเกาะพีพีดอน พีพีเล จังหวัดกระบี่

สาวิณี สงสุข

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเกาะพีพีดอน-พีพีเล จังหวัดกระบี่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวเกาะพีพีดอน พีพีเล จังหวัดกระบี่ จำนวน 400 ราย โดยเก็บข้อมูลแบบสอบถามใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย การแจงความถี่ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อยละ การทดสอบ
สมมติฐานโดยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ t-test และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียวด้วยสถิติ ((One Way ANOVA)
(F-test)) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ
เพียร์สันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ข้อมูลพื้นฐาน พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-30 ปี ภูมิลำเนาภาคใต้ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพโสด

ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน มีรายได้เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 10,000 - 25,000 บาท
จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยทางประชากรศาสตร์
ด้านอาชีพที่แตกต่างกันส่งผลให้ความพึงพอใจ
ของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการจัดการแหล่ง
ท่องเที่ยวเกาะพีพีดอน พีพีเล จังหวัดกระบี่
ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยด้านพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ได้แก่ วัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยว และลักษณะ
การมาท่องเที่ยวที่แตกต่างกันส่งผลให้ความ
พึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเกาะพีพีดอน พีพีเล จังหวัดกระบี่ ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเกาะพีพีดอน พีพีเล จังหวัดกระบี่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
นัยส􀂷ำคัญ 0.05


Full Text:

PDF

References


กัมปนาท บุญพ่อมี. (2551). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกที่พักประเภทรีสอร์ตกรณีศึกษา : เกาะลันตา จังหวัดกระบี่. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

ทัศวรรณ กุลสถาพร. (2556). เรื่องพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เข้ามา

ท่องเที่ยวเกาะสิมิลัน จังหวัดกระบี่. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เบญจมาศ ประยูรหงษ์. (2549). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยว

สวนสัตว์ดุสิต. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนันทนาการ

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภรณ์ทิพย์ หงส์ขาว. (2553). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการแหล่งท่องเที่ยว ในอำเภอเมือง จังหวัดกระบี่. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ศูนย์วิจัยด้านตลาดการท่องเที่ยว. แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555 – 2559.

สืบค้นเมื่อ กันยายน 2, 2557, จาก http://marketingdatabase.tat.or.th/more_news.php?cid=98.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและธุรกิจต่อเนื่องในภาคใต้. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 6, 2557, จาก http://www.ksmecare.com/Article.

Buhalis, D. (2000). Marketing the Competitive Destination of Future. Tourism Management.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง