แนวทางการพัฒนาการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดนครนายก

ปัทมา สารสุข

Abstract


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดนครนายก 2) เพื่อศึกษาปัญหาการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดนครนายก และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดนครนายก ประชากรและกลุ่มตัวอย่างผู้วิจัยแบ่งกลุ่มประชากรที่ต้องการจะสัมภาษณ์ออกเป็น 2 กลุ่มคือ 1) ประธานกลุ่มเกษตรกร ชาวสวนผลไม้ดีเด่นที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นแกนนำและเกี่ยวข้องในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดนครนายก เลือกแบบเจาะจง รวมจำนวน 21 คน 2) กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดนครนายก เลือกโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย จำนวน 100 คน ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้วิธีรวบรวมข้อมูลจากประชาชนผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) ของชุมชน ได้แก่ เกษตรกรและนักท่องเที่ยว เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ชุด คือ แบบสอบถาม และแนวประเด็นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลเป็น 3 แบบ คือ 1) การวิเคราะห์เชิงพรรณนา 2) การวิเคราะห์จากการสัมภาษณ์และจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วม 3) การวิเคราะห์เชิงปริมาณ จากผลการวิจัย พบว่า แนวทางการพัฒนาการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดนครนายก ด้านภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดนครนายก มีการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรย้อนหลัง ด้านการวางแผนประชาสัมพันธ์มีการวางแผนประชาสัมพันธ์ จัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตรฤดูกาลที่เหมาะสมด้านการประชาสัมพันธ์นักท่องเที่ยวให้เข้าร่วมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอยู่ในระดับปานกลาง มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมท่องเที่ยวต่างๆ ของจังหวัดนครนายก การพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดนครนายกเพื่อเข้าสู่สากล ด้านการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว มีการดำเนินการอยู่ในระดับปานกลาง มีป้ายประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบต่อระบบนิเวศของจังหวัดนครนายก


Keywords


การประชาสัมพันธ์, การท่องเที่ยวเชิงเกษตร, จังหวัดนครนายก

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง