ปัญหาความรับผิดทางอาญาของผู้ครอบครองหรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์

อัจฉรพรรณ พื้นนวล

Abstract


ปัจจุบันปัญหาเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์
ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก
ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์โดยการทำซำหรือจำหน่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์
ซึ่งการละเมิดงานอันมีลิขสิทธิ์ดังกล่าวนั้น ได้ก่อปัญหาให้กับผู้เป็นเจ้าของโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นอย่างยิ่ง กฎหมายลิขสิทธิ์มิได้บัญญัติบทลงโทษสำหรับผู้ครอบครองหรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ละเมิดลิขสิทธิ์แต่อย่างใด จึงไม่อาจยับยั้งการ
ละเมิดลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ อีกทั้งความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์
ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นความผิดอันยอมความ จึงทำให้ผู้กระทำผิดไม่เกรงกลัวกฎหมาย

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ไม่ได้กำหนดความรับผิดทางอาญาของผู้ครอบครองหรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันละเมิดลิขสิทธิ์ ทำให้มีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งอาจเกิดจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ยังมีลิขสิทธิ์ที่มีราคาสูง ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่นได้บัญญัติให้ผู้ครอบครองสิ่งของที่ละเมิดลิขสิทธิ์มีความผิดทางอาญา ซึ่งถือได้ว่าเป็นบัญญัติความรับผิด
ทางอาญาที่อาจสามารถที่จะยับยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ยิ่งขึ้น
ผู้เขียนจึงขอเสนอให้มีการแก้ไขในปัญหาความรับผิดทางอาญาของผู้ครอบครองหรือใช้

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ โดยกำหนดควรแก้ไขเพิ่มเติมความรับผิดทางอาญาแก่ผู้ครอบครอง
หรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์
โดยรู้อยู่หรือมีเหตุอันควรรู้ว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นทำขึ้นโดยการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โดยกำหนดให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้หากเป็นกรณีความผิดเล็กน้อยหรือ
ให้อำนาจศาลในการที่จะใช้ดุลพินิจในกรณีที่มีเหตุอันสมควรที่จะว่ากล่าวตักเตือน หรือให้เข้าอบรม หรือให้ไปบริการสังคมแทนค่าปรับได้ในกรณี
ผู้กระทำความผิดเป็นผู้ยากไร้ หรือขาดความรู้
และกำหนดให้ความผิดฐานครอบครองหรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ หรือเป็นอาญาแผ่นดิน อันจะทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเข้าดำเนินการจับกุมได้ทันที เพื่อให้เจ้าของลิขสิทธิ์ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ


Full Text:

PDF

References


กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2555). การป้องปราม. (ออนไลน์). จาก http://www.ipthailand. go.th/ipthailand/index.php?option=com_docman&task=cat_view&gid=296&Itemid=81.

จักรกฤษณ์ ควรพจน์ และ นันทน อินทนนท์. (2546). แนวคิดและวิวัฒนาการของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา. ใน เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537.

ภูษิต เผือกมุ่ย. (2551). สิทธิบัตรกับการคุ้มครองคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์: กรณีศึกษาประเทศไทย. การศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยี

และนวัตกรรม บัณฑิตมหาวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

Copyright Act 1976

Lebovits, G. & Seidman, D.J.. (2007). “Drug Holdover Proceedings: An overview from Knew, to “Should Have Known” to “Strict Liability”. New York Real Property Law Journal, 35(2).


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง