ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การจัดการความรู้ และความรับผิดชอบต่อสังคมที่ส่งผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลังในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ธัญญชนก เจริญปรุ

Abstract


       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อมของอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลังในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาระดับ
ของความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลัง ในเขต
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและ
ขนาดย่อมของอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลัง ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในการวิจัยในครั้งนี้
เก็บข้อจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method)
ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ
         ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับของปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกลางและขนาดย่อมของอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลังในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยปัจจัย 3 ด้าน ได้แก่ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงการจัดการความรู้ และความรับผิดชอบต่อสังคม
โดยส่วนใหญ่มีค่าผลเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางและระดับมาก 2.ระดับของความสำเร็จของผ้ปู ระกอบการ
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลังในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ด้านผลสำเร็จของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลังในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้วิจัยได้ศึกษาระดับของปัจจัยผลสำเร็จในการดำเนินงานของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมฯ 4 มิติมุมมอง ได้แก่ ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเรียนรู้และการเติบโตโดยสว่นใหญ่มีค่าผลเฉลี่ยอยใู่นระดบั มาก 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของอุตสาหกรรมการแปรรูปมันสำปะหลัง ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 3.1 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีผลต่อปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการ อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05, 0.01, 0.001 3.2 ปัจจัยด้านการจัดการความรู้มีผลต่อปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05, 0.01, 0.001  3.3 ปัจจัยด้านความรับผิดชอบต่อสังคม มีผลต่อปัจจัยความส􀂷ำเร็จของผู้ประกอบการ อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05, 0.01, 0.001 3.4 ปัจจัยทุกด้านมีผลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05, 0.01, 0.001 3.5ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยด้านการจัดการความรู้ ส่งผลต่อผลการดำเนินงานในมุมมองด้านการเงินของผู้ประกอบการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 3.6 ปัจจัยทุกด้านมีผลต่อผลการดำเนินงานด้านลูกค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 3.7 ปัจจัยทุกด้านมีผลต่อผลการดำเนินงานด้านกระบวนการภายในอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 3.8 ปัจจัยด้านการจัดการความรู้และปัจจัยด้านความรับผิดชอบต่อสังคมส่งผลต่อผลการดำเนินงานในมุมมองด้านการเรียนรู้และการเจริญเติบโตของผู้ประกอบการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

 


Keywords


ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, การจัดการความรู้, ความรับผิดชอบต่อสังคม

Full Text:

PDF

References


กล้าณรงค์ ศรีรอต และคณะ. (2550). สถานภาพการผลิตหัวมันสำปะหลังและคุณภาพหัวมันสำหรับการผลิตเอทานอลเพื่อเป็นเชื้อเพลิง. กรุงเทพฯ.

ชัยยนต์ ชิโนกุล. (2548). การจัดการโซ่อุปทานและลอจิสติกส์. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ฝ่ายเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2546). Services Marketing. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ. (2544). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: เหรียญบุญการพิมพ์.

ฐาปนา บุญหล้า. (2551). คู่มือสัมมนาโลจิสติกส์และการจัดการซัพพลายเชน. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อบปี้.

ประยุทธ์ ชูสอน. (2548). พฤติกรรมภาวะผู้น􀄬ำและแนวทางการพัฒนาสู่ความเป็นผู้บริหาร มืออาชีพของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2542). เทคนิคการเพิ่มผลผลิตและปริมาณแป้งในหัวมันสำปะหลัง. มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย. จาก http://www.kengsenggroup.com/th/knowledge.php.

พสุ เดชะรินทร์. (2547). เส้นทางจากกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ Balanced scorecard และKey performance indicators (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2546). การจัดการความรู้ในยุคสังคมและเศรษฐกิจบนฐานความรู้ (Online). สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน, 2551, จาก www.kmi.trf.or.th.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญลัก ษิตานนท์, ศุภร เสรีรัตน์ และองอาจ ปทะวานิช. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 3) กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2549). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่ : แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Bass, B. M. & Avolio, B. J. (1994). Improving Organizational Effectiveness Through Transformational Leadership. Newbery Park, CA: SAGE.

Best, J. W. & Kahn, J.V. (1998). Research in Education (8thed). NeedhamHeights: Allyn and Bacon.

Porter, M. (1985). Competitive advantage. New York: Free Press.

Wright, P.M. and Noe, R.A. (1996). Management of Organizations. Chicago : Irwin.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง