แรงจูงใจในการศึกษาต่อและส่วนประสมของการตลาดที่มี ความสัมพันธ์กับแนวโน้มในการตัดสินใจศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนที่สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในกรุงเทพมหานคร
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเรื่องแรงจูงใจในการศึกษาต่อและส่วนประสมของการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มในการตัดสินใจศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนที่สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในกรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามเพศ อายุ และรายได้ต่อเดือนของนักเรียนวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจที่มีต่อการเลือกศึกษา ด้านการพัฒนาตัวเองด้านอาชีพกับแนวโน้มในการตัดสินใจศึกษาต่อ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนที่สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในกรุงเทพมหานครและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกศึกษา ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านสถานที่และด้านส่งเสริมการตลาดกับแนวโน้มการตัดสินใจศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนที่สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในกรุงเทพมหานคร
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนที่สังกัด มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 210 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรม SPSS
ผลการวิจัย พบว่า 1. นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุต่ำกว่า 18 ปี มีรายได้ต่อเดือนอยู่ในระหว่าง 3,000 – 5,000 บาท 2. นักเรียนส่วนใหญ่ มีแนวโน้มในการตัดสินใจศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏในระดับไม่ศึกษาต่อ 3. นักเรียนที่มีเพศแตกต่างกันมีแนวโน้มในการตัดสินใจศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนที่มีอายุ และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีแนวโน้มในการตัดสินใจศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ไม่แตกต่างกัน
5. แรงจูงใจที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษา มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มในการตัดสินใจศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนที่สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในกรุงเทพมหานคร ด้านการพัฒนาตนเองและด้านอาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ระดับต่ำ ในทิศทางเดียวกัน 6. ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกศึกษา มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มในการตัดสินใจศึกษาที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนที่สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในกรุงเทพมหานคร ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านสถานที่ ด้านราคา และด้านส่วนประสมทางการตลาด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง ในทิศทางเดียวกัน
Keywords
Full Text:
PDFReferences
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
ขนิษฐา วิเศษสาธร และมุกดา ศรียงค์. (2537). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. กรุงเทพฯ: โครงการตำรา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ปฐม นิคมานนท์. (2528). การศึกษานอกโรงเรียน. กรุงเทพฯ: ทิพย์อักษร.
พจน์ สะเพียรชัย. (2525). การศึกษากับการพัฒนาเยาวชน. การศึกษาแห่งชาติ. 2, 7–3.
มัลลิกา บุนนาค. (2537). สถิติเพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วันวิสาข์ แก้วสมบูรณ์. (2558). เหตุจูงใจในการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 8, 2558, จาก http://www.tsu.ac.th/grad/report_/files/06044949200949.doc.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2548). จิตวิทยาธุรกิจ. กรุงเทพฯ: Diamond in Business World.
อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2543). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง