ธรรมาภิบาลในคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.)

ดร.พรรณิลัย นิติโรจน์

Abstract


       บทความนี้เป็นบทความเกี่ยวกับธรรมาภิบาลในคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิ์มนุษยชนซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาสังคม (civil society organization) ของประเทศไทย ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยเราให้ความสำคัญกับองค์การภาครัฐ (public Organization) และองค์การภาคเอกชน (private Organization) เป็นสำคัญ แต่ให้ความสำคัญกับองค์การภาคประชาสังคมน้อยมาก
        คำว่า “ประชาสังคม” นั้นเป็นรู้จักและแพร่หลายอย่างมากในสังคมไทยมาเป็นเวลานานซึ่งมีการใช้ในความหมายเดียวกับคำว่า “การมีส่วนร่วมของประชาชน” ที่เป็นหลักการหนึ่งของธรรมาภิบาลส่วนมากคำนี้จะใช้สำหรับทางราชการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเกิดการรวมกลุ่มเป็นประชาคม และกลายเป็นส่วนหนึ่งประชาสังคม เป็นเวทีสาธารณะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการต่างๆของรัฐที่พึงจะกระทำในเรื่องที่มีผลกระทบต่อสังคมการเคลื่อนไหวของประชาสังคมจะดำเนินการในลักษณะขององค์การที่ปฏิบัติงานโดยให้ความสำคัญกับเรื่องผลประโยชน์สาธารณะ องค์การที่ทำงานทางด้านประชาสังคม เป็นการรวมกลุ่มของประชาชนที่แสดงออกทางการเมืองและสังคม โดยมีลักษณะความหลากหลายในเรื่องพื้นที่และการทำงานในเขตเมืองและชนบท มีการรวมตัวกันเป็นองค์การขับเคลื่อนทางสังคม
         ดังนั้น บทความนี้จึงเป็นบทความที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้เกิดความตระหนักในความสำคัญขององค์การภาคประชาสังคม และตระหนักถึงการบริหารองค์การภาคประชาสังคมให้มีความเป็นธรรมาภิบาล คือ ให้มีความโปร่งใส สำนึกรับผิดชอบ จริยธรรม นิติธรรม คุ้มค่า และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารองค์การ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การที่ให้ความสำคัญกับเรื่องผลประโยชน์สาธารณะและการแก้ไขปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นกับประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีเสถียรภาพ


Keywords


ธรรมาภิบาล, คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน

Full Text:

PDF

References


จามะรี เชียงทอง.(2543). วิวัฒนาการของประชาสังคมในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันวิจัยสังคม. (2546). องค์กรสาธารณประโยชน์ในประเทศไทย.

กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2544). แนวความคิดเศรษฐกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิถีทรรศน์.

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2542). ประชารัฐกับการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯร: สถาบันนโยบายศึกษา.

ชูชัย ศุภวงศ์ และยุวดี คาดการณ์ไกล. (2540). แนวความคิดพัฒนาการและข้อพิจารณาเกี่ยวกับ

ประชา สังคมไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

เชษฐา ทรัพย์เย็น. (2547). พัฒนาแนวความคิดประชาสังคมไทย. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2549). รัฐ-ชาติกับ(ความไร้)ระเบียบโลกชุดใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิภาษา.

ธีรยุทธ บุญมี. (2541). ธรรมรัฐแห่งชาติ ยุทธศาสตร์กู้หายนะประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สายธาร.

บวรศักดิ์ สุวรรณโณ. (2542). การสร้างธรรมาภิบาล (good governance) ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สถาบันพระปกเกล้า.

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. (2546). ราชกิจจา นุเบกษา,120(100ก), 1-16.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. (2540). ราชกิจจานุเบกษา, 114(55ก), 1-25.

อนุชาติ พวกสำลี และวีรบูรณ์ วิสารทกุล. (2540). ประชาสังคม: คำ ความคิด และความหมาย.กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

อมรา พงศาพิชญ์. (2543). เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง สิ่งแวดล้อมในรัฐธรรมนูญแปลงแนวคิดสู่การปฏิบัติ: ธรรมนูญกับประชาสังคมและองค์กรประชาสังคม. กรุงเทพฯ:

กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม, กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.

อมรา พงศาพิชญ์ และนิตยา ภัทรลีรดะพันธ์. (2541). รายงานผลการวิจัยเรื่อง องค์การให้ทุนเพื่อประชาสังคมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดีไซร์.

อเนก เหล่าธรรมทัศน์. (2542). ส่วนรวมที่ไม่ใช่รัฐ ขบวนการประชาสังคมไทย ความเคลื่อนไหวภาคพลเมือง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล, โครงการวิจัยและพัฒนาประชาสังคม.

Isabel, A. K. (2000, February). Beyond transparency: The Canadian experience. Paper for the seminar on international experience on good governance and fighting corruption, Bangkok.

Kjare, A. M. (2004). Governance.Malden, MA: Polity.

Wiraterman, R., &Herlambang, P. (2007).Good governance and legal reform in Indonesia. Bangkok: Mahidol University, Office of Human Rights Studies and Social Deveopment.

Wit, J. D. (2000). Toward good governance at local level; the role of grassroots institutions. Den Haag, Netherlands: Institution of Social Studies.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง