มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ ศึกษากรณีการลักลอบบันทึกภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์

วริราภรณ์ จอมดวง

Abstract


         ภาพยนตร์เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537แต่ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ ในงานภาพยนตร์ก็ยังคงทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยี ที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้การกระทำละเมิดลิขสิทธิ์สามารถกระทำได้โดยง่ายและรวดเร็ว ทำให้ผู้กระทำความผิดอาศัยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของงาน ผู้ประกอบการภาพยนตร์และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ รวมทั้งก่อให้เกิดผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและชื่อเสียงของประเทศไทย
         จากการศึกษาพบว่า ขณะนี้หลายประเทศได้ตรากฎหมายเฉพาะ (sui generis) แยกจากกฎหมายลิขสิทธิ์ เพื่อป้องกันปัญหาการลักลอบบันทึกภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ เช่น สหรัฐอเมริกา กำหนดให้การใช้อุปกรณ์บันทึกภาพและเสียงในโรงภาพยนตร์เป็นความรับผิดอย่างเคร่งครัด ประเทศญี่ปุ่น กำหนดห้ามมิให้นำข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์กรณีใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือบุคคลในครอบครัวมาเป็นข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ และประเทศฟิลิปปินส์กำหนดให้การใช้หรือครอบครองอุปกรณ์ เพื่อบันทึก ทำสำเนา และโอนงานภาพยนตร์ในสถานที่จัดแสดงงานภาพยนตร์เป็นความผิดตามกฎหมาย
           ปัจจุบันประเทศไทยได้มีแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดยตราพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 เพิ่มฐานความผิดและบทกำหนดโทษสำหรับ การลักลอบบันทึกภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ เพื่อแก้ไขปัญหาการลักลอบบันทึกภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ แต่การแก้ไขกฎหมายดังกล่าวยังมีข้อบกพร่องอยู่บางประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการกำหนดนิยามศัพท์คำว่า“ทำซ้ำ” หรือ “โรงภาพยนตร์” ควรแก้ไขให้ชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ลักษณะของการกระทำที่กำหนด ให้เป็นความผิดควรแก้ไขให้มีความชัดเจนเช่นเดียวกัน อนึ่ง บทบัญญัติซึ่งกำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ควรแก้ไขมิให้เกิดปัญหาในการตีความกฎหมาย สำหรับบทกำหนดโทษของการลักลอบบันทึกภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ ควรกำหนดโทษให้สูงกว่าการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ เพื่อการค้า และเพิ่มโทษกรณีกระทำความผิดซ้ำ เพื่อให้ผู้กระทำความผิดเกรงกลัวและไม่กลับไปกระทำความผิดอีก จึงสมควรที่จะแก้ไขเพิ่มเติม บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องเหล่านี้ นอกจากนี้ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ควรให้ความร่วมมือและประสานงานร่วมกันเพื่อป้องกันปัญหาการลักลอบบันทึกภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์และส่งเสริมการบังคับใชก้ ฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างเคร่งครัด


Keywords


ลิขสิทธิ์, งานภาพยนตร์, ลักลอบบันทึกภาพยนตร์, โรงภาพยนตร์

Full Text:

PDF

References


จักรฤษณ์ ควรพจน์. (2538). กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยลิขสิทธิ์ สิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า. (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิติธรรม.

ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2541). คำอธิบายกฎหมายลิขสิทธิ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม.

ธัชชัย ศุภผลศิริ. (2539). คำอธิบายกฎหมายลิขสิทธิ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิติธรรม.

ธัชชัย ศุภผลศิริ. (2551). ลิขสิทธิ์ ตัวบทพร้อมข้อสังเกตเรียงมาตรา และคำพิพากษาศาลฎีกา, (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิติธรรม

นิวัฒน์ มีลาภ. (2539). กฎหมายลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแห่ง.

วัส ติงสมิตร. (2544). กฎหมายลิขสิทธิ์พร้อมด้วยพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม.

วัส ติงสมิตร. (2551). ลิขสิทธิ์ ตัวบทพร้อมข้อสังเกตเรียงมาตรา และคำพิพากษาศาลฎีกา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม.

กิตติศักดิ์ ปรกติ. (2546). การคุ้มครองลิขสิทธิ์ในกฎหมายไทย. วารสารนิติศาสตร์, ปีที่ 13 ฉบับที่ 4.

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. (2543). ปัญหาลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์. บทบัณฑิต, เล่มที่ 56 ตอน 3, (กันยายน 2543).


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง