กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อความภักดีในตราสินค้า เครื่องสำอางที่ซื้อผ่านเคาน์เตอร์ห้างสรรพสินค้า
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อความภักดีในตรา
สินค้าเครื่องสำอางที่ซื้อผ่านเคาน์เตอร์ห้างสรรพสินค้า ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ
และมาตรวัด 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้
สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์
สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญทาง
สถิติ .05
ผลการศึกษาพบว่า
1. กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อความภักดีในตราสินค้าเครื่องสำอางที่ซื้อผ่านเคาน์เตอร์ห้างสรรพสินค้า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x= 3.54) โดยส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการ ด้านคุณภาพบริการ ด้านพนักงาน
ด้านราคาและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของผู้ให้บริการ อยู่ในระดับมาก (x = 3.54-3.88) ส่วนด้านการ
จัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาดและการ
ให้ความรู้กับลูกค้า การสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ อยู่ในระดับปานกลาง (x = 3.19-3.49)
2. ความภักดีในตราสินค้าเครื่องสำอาง
ในภาพรวมมีความภักดีในตราสินค้าเครื่องสำอาง
อยู่ในระดับมาก (x = 3.79) โดยด้านการบอกต่อ ด้านความหนักแน่นในสิ่งที่ชอบ ด้านการมีส่วนร่วมในการปกป้อง อยู่ในระดับมาก (x = 3.55-4.02) ส่วนด้านการแสดงตัว ด้านการไตร่ตรองเป็นพิเศษ อยู่ในระดับปานกลาง (x = 3.33-3.35)
3. กลยุทธ์ทางการตลาดมีความสัมพันธ์
กับความภักดีในตราสินค้าเครื่องสำอางที่ซื้อผ่านเคาน์เตอร์ห้างสรรพสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์
เชิงบวกอยู่ในระดับสูง
Full Text:
PDFReferences
การส่งออก-นำเข้าสินค้าเครื่องสำอางของไทย จาก http://www.prachachat.net/news-photo/prachachat/2012/07/inv05020755p1.jpg.
เขมมิกา เชาวน์เกษม. (2550). การวัดมูลค่าตราสินค้าของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อผิวขาวในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 7 ขั้นตอนที่ช่วยดึงลูกค้ากลับมา K SME Care สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 15, 2256, จาก http://www.ksmecare.com/Article.
ฉัตรยาพร เสมอใจ. (2548). การจัดการและการตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
_____. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธีรกิติ นวรัตน์ ณ อยุธยา. (2549). การตลาดบริการ แนวคิดและกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_____. (2552). การตลาดบริการ แนวคิดและกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฤดี หลิมไพโรจน์. (2555). การตลาดบริการ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เทคโนโลยีชีวภาพทางเครื่องสำอาง สืบค้นเมื่อ มีนาคม 15, 2556, จาก http://www.ist.cmu.ac.th/researchunit/pcrnc/paper/seminar.
นำหนึ่ง วงพงศธร. (2550). ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อ และการใช้
เครื่องสำอางป้องกันแสงแดด สำหรับผู้บริโภคชาวไทย. วิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัย
แม่ฟ้าหลวง.
บทความเครื่องสำอาง สืบค้นเมื่อ มีนาคม 15, 2556, จาก http://www.positioningmag.com.
บุศรา สุนทรัตตา. (2550). กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้หญิงไทยในการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางประเภทแต่งหน้า (Make up) ที่จำหน่ายในเคาน์เตอร์ของห้างสรรพสินค้าในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ประวัติศาสตร์ และการก่อกำเนิดเครื่องสำอาง. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 15, 2556, จาก www.postjung.com/women-old/show.php.
ปณิศา ลัญชานนท์. (2548). หลักการตลาด (Principles of Marketing). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร จำกัด.
พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 15, 2556, จาก www.library.coj.go.th/info/data/C29-01-001.pdf.
มนต์ชัย พัดน้อย. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการเกิดความภักดีต่อตราสินค้า บริษัทประกันวินาศภัย. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
รายงานของบริษัท บิวตี้ คอมมูนิตี้ จำกัด (มหาชน), บริษัท KKS Research ประจำวันที่ 12 ธันวาคม 2555.
ลักขณา ตะนุรักษ์. (2551). การใช้สื่อสารแบบบูรณาการ กรณีศึกษาเครื่องสำอางแบรนด์เนมยี่ห้อ Etude. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. 16(2980). สืบค้นเมื่อ มีนาคม 15, 2556,
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. (ฉบับปรับปรุงใหม่ปี 2552). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร จำกัด
____. (2550). การบริหารการตลาดยุคใหม่. (ฉบับปรับปรุงใหม่ปี 2552). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร จำกัด.
ศรีกัญญา มงคลศิริ. (2547). Brand Management. กรุงเทพฯ: เลิฟ แอนด์ ลิฟ.
สุพรรณี จันทร์รัสมี. (2550). ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อความภักดีในตราสินค้า ในตราสินค้าของเครื่องสำอางระดับบน (La mer Laprairie และ Sisley) ในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลของคนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ ออนไลน์ สืบค้นเมื่อ มีนาคม 15, 2556, จาก www.siamturakij.com/home/news/print_news.php?news_id=2646.
อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2546). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อมรรัตน์ พินัยกุล. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีในตราสินค้า ในตราสินค้าไอศกรีม Swensen’s ของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Aaker, David A. (2002). Build Strong Brand. London: The Free Press.
Armstrong, Gary & Kotler, Philip. (2009). Marketing and Introduction. (9th ed.). New Jersey: Pearson Education.
Assael, H. (1995). Consumer Behavior and Marketing Action. Boston, MS:
PWs-KENT.
Berkman, Lindquist & Sirgy. (1996). Consumer Behavior. NTC Business Books.
Blair, M., Armstrong, R., & Murphy, M. (2003). The 360 degree brand in asia:
Creating more effective marketing communications. Singapore: John Wiley
& Son.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง