การพัฒนารูปแบบกระบวนการนวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของปราชญ์ชาวบ้านภาคใต้

ธานี ชูกำเนิด

Abstract


       การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการนวัตกรรมการเรียนรู้ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของกระบวนการนวัตกรรมการเรียนรู้ และพัฒนารูปแบบกระบวนการนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของปราชญ์ชาวบ้านภาคใต้ ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วยปราชญ์ชาวบ้านที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นครูภูมิปัญญาไทยภาคใต้ จำนวน 9 คนและผู้ได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากปราชญ์ชาวบ้านจำนวน 27 คน โดยแบ่งกระบวนการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาเอกสารและสื่อ ระยะที่ 2 การศึกษาภาคสนาม และระยะที่ 3 การพัฒนารูปแบบ ผลการวิจัยในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 พบว่ากระบวนการนวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของปราชญ์ชาวบ้านประกอบด้วย ขั้นตอนย้อนแลกำพืด ชอบสืบสรรหา เปลี่ยนใหม่ให้แปลกกว่า ตั้งท่าเตรียมลองใช้ ลองแล้วทำเพรื่อ ฝึกปรือ ทำใหม่ ยึดสมดุลหนุนไว้ ร่วมใจใช้ร่วมกัน เปิดสังคมการเรียนรู้ สมรมอยู่แบบรู้หวันแตกหน่อทำต่อกัน และถูกผิดนั้นร่วมกันประเมินส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกระบวนการนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนประกอบด้วย การมีต้นแบบผู้นำดี มีวิสัยทัศน์ร่วมหลอมรวมนวัตกรรม ทำเป็นพลวัต จัดการครบวงจร สอนกันฉันท์กัลยาณมิตร ใกล้ชิดแหล่งเรียนรู้ วิชาการคู่ภูมิปัญญา พึ่งพาเทคโนโลยีที่เหมาะสม และสังคมยอมรับได้ ส่วนผลการวิจัยในระยะที่ 3 พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมและเป็นกระบวนการที่เป็นไปได้ว่านำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน


Keywords


กระบวนการนวัตกรรมการเรียนรู้, ปราชญ์ชาวบ้าน

Full Text:

PDF

References


ประเวศ วะสี. (2548). การพัฒนาต้องเอาวัฒนธรรมเป็นตัวตั้ง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: กระทรวง

วัฒนธรรม ราชบัณฑิตยสถาน. พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. (2548). นวัตกรรมการเรียนรู้ : คน ชุมชน และการพัฒนา. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

วิจารณ์ พานิช. 2549. การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ตถาตา.

อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์. 2548. การศึกษาชุมชนเชิงพหุลักษณ์: บทเรียนจากวิจัยภาคสนาม. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข.

อุ่นตา นพคุณ. 2543. การศึกษาตลอดชีวิตในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 28(3), 1-8.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง