ผลกระทบของนโยบายค่าแรงขั้นต่ำต่อการบริหารจัดการองค์การของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ศรีสุวรรณ ขอไพบูลย์

Abstract


วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการกำหนดนโยบายและกระบวนการบริหารนโยบายสาธารณะที่มีผลต่อธุรกิจของไทยในระยะหลังสุดนี้ (2011-2013) โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารของสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม 28 แห่ง และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) จากกลุ่มตัวอย่าง 348 แห่งจากผลการศึกษาพบว่าสมมติฐานการวิจัยเป็นจริง นั่นคือ “ตัวแบบและกระบวนการบริหารนโยบายสาธารณะส่งผลต่อกระบวนการบริหารจัดการองค์กรของสถานประกอบการทั้งการจ้างและการจัดหาแรงงาน เครื่องจักร และวัตถุดิบ ของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
      1. ด้านตัวแบบการกำหนดนโยบายการกำหนดนโยบายค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท มีลักษณะที่สอดคล้องกับตัวแบบระบบ (Systems
Model) มากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.04 กล่าวคือ ในการกำหนดนโยบายต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ ไม่ใช่พิจารณาเพียงกลุ่มแรงงานเท่านั้น
      2. ด้านผลกระทบต่อการบริหารจัดการองค์กร พบว่า นโยบายนี้ได้ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการองค์กรทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเงินทุน (Capital) ลูกจ้าง (Man) วัตถุดิบ (Material) และกระบวนการบริหารจัดการ (Management) โดยด้านการบริหารเงินทุนได้รับผลกระทบสูงสุดมีค่าเฉลี่ย 3.81 นโยบายนี้ส่งผลให้ SMEs ต้องจ่ายค่าแรงเพิ่มขึ้นในอัตราก้าวกระโดด ต้องกู้ยืมเงินมาใช้หมุนเวียนมากขึ้น ทำให้ขาดสภาพคล่อง บางแห่งต้องย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่มีค่าแรงต่ำกว่า และหลายแห่งไม่สามารถแบกรับต้นทุนได้ จึงปิดตัวลงแล้ว
       3. ทางเลือกในการบริหารนโยบายค่าแรงขั้นต่ำและมาตรการความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐบาล ในด้านนี้พบว่า กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า
การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำควรกำหนดจากความเห็นของทั้ง 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง ส่วนการช่วยเหลือ ควรมีมาตรการที่เป็นรูปธรรมและปฏิบัติได้จริง

Keywords


นโยบาย, ค่าแรงขั้นต่ำ

Full Text:

PDF

References


ฉัตรทอง ชูลิตรวงศ์. 2548. สร้างงบ...สร้างธุรกิจ SEMs. กรุงเทพฯ: ส.เอเซียเพรส (1999).

ทีมงานไทยเอสเอ็มอีแฟรนไชส์. 2553. การบริหาร การจัดการ บริหารธุรกิจ ขนาดย่อม SMEs. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ฐานบุ๊คส์.

ธงชัย สันติวงศ์. 2532. การบริหารค่าจ้างและเงินเดือน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

ธนาคารกรุงเทพ. 2553. รายงานผลการประกอบการ. รายงานประจำปี 2553.

บริษัท บิซิเนส ออนไลน์ จำกัด (มหาชน). 2555. บทสรุปผู้บริหาร โครงการสำรวจข้อมูลเชิงลึกใน 55 จังหวัด. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2556, จาก http://119.63.93.73/smebiweb/img/doc02.pdf

โยธิน แสวงดี. 2553. ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Method). สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ. 2555. การบริหาร การจัดการ บริหารธุรกิจ ขนาดย่อม SMEs. นนทบุรี:

ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. 2555. ผลกระทบของการดำเนินนโยบายรายได้ ค่าแรงไม่น้อยกว่า 300 บาทต่อวัน และเงินเดือนปริญญาตรีไม่น้อยกว่า 15,000 บาท ที่มีผลต่อโครงสร้างเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). 2551. การวิเคราะห์ 4 M คืออะไร และทำอย่างไร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).290 วารสารบัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

สมศจี ศิกษมัต. 2554. ผลกระทบของการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท. ฝ่ายสถิติและข้อสนเทศธนาคารแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2556. สรุปมาตรการช่วยเหลือ SMEs ของภาครัฐที่ดำเนินการในปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2556, จาก http://www.1111.go.th/Admin/Upload/File_Manager/SMEs-08022013.pdf

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. 2556. “ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท กับอนาคต SMEs ไทย”.อุตสาหกรรมสารฉบับเดือนพฤษภาคม– มิถุนายน2556.

สุรจิต ลักษณะสุต และนภดล บูรณะธนัง. 2542. บทบาทขอรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

หควณ ชูเพ็ญ. 2550. “นโยบายสาธารณะกับการงบประมาณ” เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

อเนก เหล่าธรรมทัศน์. 2549. ทักษิณา-ประชานิยม. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์มติชน.

César Cruz-Rubio and Roberto Castellanos-Cereceda, 2015. “Beyond policy outcomes : analyzing the effects of policies and policy designs on social and political behavior”.

International Conference of Public Policy.

Ewan J. Michael. 2006. Public Policy : the Competitive Framework. Singapore : Bookpac Production Service.

International Labour Organization. 1996. Wages. Retrieved on 1 July 2013, from http://www.ilo.org/global/topics/working-conditions/wages/lang--it/index.htm

Kamdao Boonyarataphan. 2008. Populist policy as anti-Americanization : the case study of Venezuela under the role of president Hugo ChavezKamdao Boonyarataphan.

Bangkok, Thailand: Faculty of Political Science, Thammasat University.

Luther Halsey Gulick. (editors). 1937. Paper on the Science of Administration. New York: Institute of Public Administration.

Thomas R. Dye. 1995. Understanding Public Policy. 8th ed. New Jersey: Prentice-Hall.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง