ปัญหากฎหมายในการให้ความคุ้มครองงานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย

เยาวเรศ นกศิริ

Abstract


ในปัจจุบันงานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย
ถือว่าเป็นงานที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ในฐานะที่เป็นงานวรรณกรรม เพราะเป็นงานสร้างสรรค์ที่เกิดจากความริเริ่มของตนเอง
โดยผู้สร้างสรรค์ต้องทุ่มเทความรู้ความสามารถ
สติปัญญา ความอุตสาหะในการสร้างสรรค์งานนั้น จากที่ได้ศึกษาความเป็นมาเกี่ยวกับการได้มา
ซึ่งลิขสิทธิ์ในงานที่สร้างสรรค์โดยผู้สร้างสรรค์ที่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้นภายใต้การจ้างแรงงาน สัญญาจ้างทำของ หรือภายใต้คำสั่งหรือในความควบคุมของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใด
ของรัฐ หรือของท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 14 จะเห็นได้ว่า งานที่สร้างสรรค์ขึ้นดังกล่าวตกเป็นของมหาวิทยาลัย ทำให้

มหาวิทยาลัยได้มาซึ่งความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
ในงานวิจัย ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 14
จากหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียน
มีความเห็นว่า มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานของรัฐ
ที่อยู่ในความควบคุมดูแลของทบวงมหาวิทยาลัย และมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย อาจได้มา
ซึ่งความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์
ที่บุคลากรได้สร้างสรรค์หรือได้ก่อให้เกิดขึ้นมา
ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2537 มาตรา 14 สำหรับกรณีของการ
จ้างแรงงาน การทำงานตามคำสั่งหรือในความควบคุมของมหาวิทยาลัย อันอาจทำให้มหาวิทยาลัยได้มาซึ่งความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานที่บุคลากรได้สร้างสรรค์ขึ้น ซึ่งอาจมีความเหมาะสมสำหรับงาน

อันมีลิขสิทธิ์บางประเภท เช่น งานศิลปกรรม
งานโสตทัศนวัสดุหรืองานแพร่ภาพแพร่เสียง เป็นต้น เพราะงานสร้างสรรค์ดังกล่าวลูกจ้างจะต้องทำตามคำสั่งหรือแบบแผนตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ส่วนงานวิจัยเป็นการเรียบเรียงงาน
ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยนั้น หากใช้วิธีการที่กำหนดให้ลูกจ้างจะต้องทำตามคำสั่งหรือแบบแผนตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดย่อมไม่เหมาะสม
เพราะการทำงานวิจัยต้องมีแนวคิดที่มีความอิสระเพื่อเสนองานวิจัยอย่างมีคุณภาพปราศจากการ
อยู่ภายใต้การควบคุมหรือบังคับบัญชา
ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงเห็นสมควรเสนอให้
มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 14 โดยกำหนดให้งานวิจัยของอาจารย์เป็นลิขสิทธิ์ของอาจารย์แต่เพียงผู้เดียว
เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น


Full Text:

PDF

References


จรัญ ภักดีธนากุล. (2526). ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521. เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่องการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ณ สมาคมเครื่องหมายการค้าสิทธิบัตร

และลิขสิทธิ์แห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ.

ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2553). ลักษณะของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

ธัชชัย ศุภผลศิริ. (2537). คำอธิบายกฎหมายลิขสิทธิ์. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537.

Benko, R. (1987). Protecting Intellectual Property Right: Issues and Controversies, American Enterprise Institute for Public Policy Research (AEI Studies 453). Copyright Designs and Patents Act 1988

Donald F. Johnson. (1978). Copyright Handbook. New York: R.R. Bowker.

King v SA Weather Service. (2009). copyright in works produced in the course of employment. 3 SA 13 (SCA).


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง