ปัญหาการให้ความคุ้มครองแก่สิทธิในเครื่องหมายการค้า ที่เป็นรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ธันย์ชนก ปัทมานันท์

Abstract


         ประเทศไทยได้มีการให้ความสำคัญในเรื่องของการให้ความคุ้มครองแก่เครื่องหมายการค้าที่เป็นรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกว่าที่จะได้รับความคุ้มครองนั้นจะต้องมีการพิสูจน์โดยมีขั้นตอนในการขอจดทะเบียนซึ่งถือได้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองที่ทำให้ประชาชนผู้ใช้สินค้าทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าว่าแตกต่างไปจากสินค้าอื่น เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 ตามคำนิยามใหม่ ในบทบัญญัติมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 ซึ่งให้คำนิยามคำว่าเครื่องหมายหมายความรวมถึง “...รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ...” และยังมีการศึกษาเครื่องหมายการค้าในรูปร่างรูปทรงของวัตถุประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่งล้วนเป็นประเทศที่มีวิวัฒนาการในการให้ความคุ้มครองแก่เครื่องหมายการค้าในรูปร่างรูปทรงของวัตถุก่อนประเทศไทยเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการให้ความคุ้มครองแก่ เครื่องหมายการค้าในรูปร่างรูปทรงของวัตถุของ
ประเทศไทยต่อไป
         จากการศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการให้ความคุ้มครองแก่เครื่องหมายการค้าในรูปร่างรูปทรงของวัตถุของประเทศไทย และให้ครอบคลุมถึงกลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ และมีการนำเอารูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุดังกล่าวมาใช้เป็นเครื่องหมายของสินค้า ทำให้สาธารณชนแยกแยะความแตกต่างของสินค้าผู้อื่นได้ เครื่องหมายการค้านั้นจะมีวัตถุประสงค์อยู่สองประการ คือ ประการที่หนึ่งเพื่อจัดระเบียบข้อมูลการเป็นเจ้าของและการใช้เครื่องหมายการค้า และประการที่สองเพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าและ
ผู้บริโภคสินค้า ซึ่งที่จริงแล้วได้มีการวางมาตรการหรือแนวทางในการให้ความคุ้มครองแก่รูปร่างรูปทรงของวัตถุในฐานะเครื่องหมายการค้า จากการศึกษาพบว่า มาตราที่ 7 เป็นเพียงการเพิ่มเติมขยายความคุ้มครองให้กว้างมากยิ่งขึ้นสามารถทำหน้าที่เป็นเครื่องหมายการค้าได้ ทั้งที่จริงแล้วอาจจะมาตรการคุ้มครองที่หลากหลาย แต่แล้วยังคงนำไป
สู่การแก้ไขปัญหา ในประเด็นของการคุ้มครองที่ซ้ำซ้อนกัน(Concurrent Protection) ของกฎหมายลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า และสิทธิบัตรให้หลักที่ชัดเจนในการคุ้มครองที่ชัดเจนในเรื่องของการให้
ความคุ้มครองในเครื่องหมายการค้าที่เป็นรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ ซึ่งในปัจจุบันการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เป็นรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุมีมากมาย
           ดังนั้น ผู้เขียนขอเสนอปัญหาในการคุ้มครองแก่สิทธิในเครื่องหมายการค้าที่เป็นรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุที่มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองของเครื่องหมายการค้าที่เป็นรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุซึ่งจากมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 ได้มี
การขยายความคุ้มครองเพิ่มเติมในสิ่งซึ่งสามารถทำหน้าที่เป็นเครื่องหมายการค้าโดยเน้นถึงรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ อย่างไรก็ตามมาตรา 7 มิได้ระบุถึงลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองของรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุเอาไว้ อย่างชัดเจนเช่นเดียวกับที่ได้ระบุเอาไว้สำหรับในการพิจารณาเครื่องหมายการค้าชนิดอื่นๆ เช่น เรื่องของภาพ โดยภาพของผู้ขอจด
ทะเบียนหรือของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว หรือในกรณีที่บุคคลนั้นตายแล้ว โดยได้รับอนุญาตจากบุพการี ผู้สืบสันดาน และคู่สมรสของบุคคลนั้น ถ้ามีแล้ว กลุ่มของสีที่แสดงโดยลักษณะพิเศษ หรือตัวหนังสือ ตัวเลข หรือคำที่ประดิษฐ์ขึ้น เครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นข้อความต้องไม่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง การที่กฎหมายไม่ระบุลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้าในรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุเอาไว้ ทำให้เกิดการตีความที่แตกต่าง กว้าง และค่อนข้างยากทำให้เกิด ปัญหาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด จึงเป็นที่มาของการศึกษา
เรื่องนี้ผู้เขียนขอเสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 7 โดยระบุถึงลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองของรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุเอาไว้อย่างชัดเจนเช่นเดียวกับที่ได้ระบุเอาไว้สำหรับในการพิจารณาเครื่องหมายการค้า
ชนิดอื่น

 


Keywords


เครื่องหมายการค้า, รูปร่าง, รูปทรง

Full Text:

PDF

References


พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534

พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง