รูปแบบการบริหารภายใต้กรอบโรงเรียนคุณภาพมาตรฐาน กรุงเทพมหานคร (SMART school) โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1)
ศึกษาสภาพการบริหารภายใต้กรอบโรงเรียน
คุณภาพมาตรฐานกรุงเทพมหานคร (SMART
School) ของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร
2) สร้างและประเมินรูปแบบการบริหารภายใต้กรอบ
โรงเรียนคุณภาพมาตรฐานกรุงเทพมหานคร
(SMART School) โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของ
โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร การรวบรวม
ข้อมูลใช้วิธีการดังนี้ 1) ศึกษาสภาพการบริหารภายใต้
กรอบโรงเรียนคุณภาพมาตรฐานกรุงเทพมหานคร
(SMART School) ของโรงเรียนในสังกัด
กรุงเทพมหานคร จากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร
โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 209 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น
แบบสอบถามที่เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า
(Rating Scale) 2) การสร้างและการประเมินรูป
แบบการบริหารภายใต้กรอบโรงเรียนคุณภาพ
มาตรฐานกรุงเทพมหานคร (SMART School)
โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนในสังกัด
กรุงเทพมหานคร โดยจัดการสนทนากลุ่ม (Focus
Group Discussion) ผู้ทรงคุณวุฒิขั้นตอนละ
8 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ
การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) การดำเนินงานตาม
กรอบนโยบายโรงเรียนคุณภาพมาตรฐานกรุงเทพมหานคร
(SMART School) โดยภาพรวม มีระดับการ
ปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า
ด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านการเรียนรู้
คู่กิจกรรม รองลงมา คือ ด้านด้านการเรียนรู้
คู่คุณธรรมส่วนด้านที่มีการปฏิบัติต่ำสุด คือ ด้าน
การเรียนรู้คู่เทคโนโลยี ส่วนการดำเนินการบริหาร
โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนในสังกัด
กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้าน มีระดับ
การปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า
ด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านการตรวจสอบและ
ถ่วงดุล รองลงมา คือ ด้านการกระจายอำนาจ
ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติต่ำสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วม2) รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานภายใต้
กรอบโรงเรียนคุณภาพมาตรฐานกรุงเทพมหานคร
(SMART School) ของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร
ที่มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการนำไปใช้คือ
1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความพร้อมของสถาน
ศึกษาสำหรับการจัดกิจกรรมเพื่อตอบสนองนโยบาย
SMART School 2) กระจายอำนาจให้สถานศึกษา
ได้จัดกิจกรรมตอบสนองนโยบาย SMART School
อย่างมีอิสระ 3) เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่
สนองนโยบาย SMART School 4) บริหารจัดการ
เพื่อการจัดกิจกรรมที่สนองนโยบาย SMART
School โดยเน้นการมีส่วนร่วมและมีอิสระในการ
บริหารจัดการอย่างแท้จริง 5) กำกับติดตามการ
ดำเนินการจัดกิจกรรมที่สนองนโยบาย SMART
School อย่างต่อเนื่อง 6) ประเมินผลการจัด
กิจกรรมที่สนองนโยบาย SMART School ด้วย
วิธีการที่หลากหลาย
Keywords
Full Text:
PDFReferences
เผด็จ ขอบรูป. (2552, ตุลาคม – 2553, มกราคม). ปัญหาการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี. วารสารบัณฑิต
ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 3.
สมัคร รู้รักดี. (2554). รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็น ฐานสำหรับ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการ
บริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
สุวิทย์ จันทร์คงหอม. (2548). การบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษาใน
สำนักงานเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการ
บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เสาวนิตย์ ชัยมุสิก. (2544). การบริหารโรงเรียนเป็นฐานเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ:
บุ๊คพอยท์.
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2549). โรงเรียนคุณภาพ (SMART School). กรุงเทพฯ: ชุมนุม
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
. (2556). สรุปผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (SMART
School) ประจำปี พ.ศ.2556. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). รายงานการประชุมแนวคิดและประสบการณ์การ
บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School – Based Management. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์ดี จำกัด.
David, J.L. (1989). Synthesis of Research on School-Based Management. Retrieved
January 15, 2015. From http://www.ascd.org/ASCD/pdf/journals/ed_lead/el_198905_
david.pdf.
Dondero, Grace Marie. (1993). School – Based Management. Teacher’ Decisional
Participation Levels, School Effectiveness, and Job Satisfaction. Dissertation Abstracts
International. 54, 054: 1607.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง