ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการจำนองรถยนต์1

พลกฤษณ์ ตันติชัยนุสรณ์

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
1) เพื่อศึกษาวิวัฒนาการ ความหมาย แนวคิด
ทฤษฎีเกี่ยวกับการจำนองรถยนต์ 2) เพื่อศึกษา
ถึงมาตรการทางกฎหมายในการนำรถยนต์มาจำนอง
3) เพื่อศึกษาปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับ
การโอนกรรมสิทธิ์ การบังคับจำนอง 4) เพื่อเสนอ
แนวทางแก้ไข และปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เพื่อขจัดปัญหาของการนำรถยนต์มาเป็นหลัก
ประกันในการชำระหนี้ตามกฎหมายไทย
แบบของการวิจัย คือ การวิจัยเอกสาร ใช้
ระเบียบวิธีวิจัย เชิงคุณภาพ ประชากรหมายถึง
แหล่งข้อมูล ได้แก่ หนังสือ ตำรากฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกา วิทยานิพนธ์ งานวิจัย วารสาร
การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้
กฎหมาย และข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ การวิเคราะห์
ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า
1) เนื่องจากในปัจจุบันมีการใช้รถยนต์
เป็นหลักประกันการชำระหนี้ในลักษณะของสัญญา
เช่าซื้อและจำนำ ซึ่งการเช่าซื้อจะทำให้เจ้าของ
กรรมสิทธิ์รถยนต์จะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการ
โอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ไปเป็นของเช่าซื้ออันเป็น
ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและเป็นเหตุผลที่สำคัญประการ
หนึ่งในการตราพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2551 มาตรา
17/1 ส่วนการจำนำเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์จะต้อง
ส่งมอบการครอบครองรถยนต์ให้กับเจ้าหนี้ทำให้
เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ไม่สามารถใช้รถยนต์
ในการประกอบอาชีพได้จึงไม่นิยมมีการจำนำรถยนต์
เป็นประกันหนี้ สำหรับการจำนองรถยนต์เป็น
ประกันหนี้นั้นต้องทำเป็นหนังสือตามแบบที่
นายทะเบียนกำหนดและต้องแจ้งจดทะเบียนจำนอง
ต่อนายทะเบียน โดยมีแนวคิดมาจากการที่ต้องการ
ให้รถยนต์สาธารณะ รถยนต์บริการ และรถยนต์
ส่วนบุคคล รวมทั้งรถพ่วง รถบดถนน และรถแทรคเตอร์
เป็นสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงสามารถจดทะเบียน
จำนองเป็นประกันหนี้ได้ตามกฎหมายและผู้เป็น
เจ้าของยังคงมีสิทธิ์ครอบครองใช้สอยได้ดังเดิม
2) สำหรับมาตรการทางกฎหมายในการนำ
รถยนต์มาจำนอง ยังไม่มีหลักเกณฑ์ในการจำนอง
รถยนต์ที่ชัดเจน จึงอาจจำเป็นต้องนำบทบัญญัติ
ในเรื่องการจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่อาจจะไม่
สามารถครอบคลุมปัญหาการนำรถยนต์มาจำนองได้

เนื่องจากรถยนต์เป็นสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะ
เฉพาะและมีความเสี่ยงต่อความเสียหายและเสื่อม
มูลค่าได้โดยง่าย 3) เมื่อรถยนต์ไม่มีเอกสารแสดง
กรรมสิทธิ์ หรือเอกสารสิทธิ การโอนกรรมสิทธิ์
รถยนต์ไม่มีแบบที่กฎหมายกำหนดจึงทำได้โดยการ
แสดงเจตนาและส่งมอบรถยนต์เท่านั้น อาจเกิด
ปัญหาว่าการโอนกรรมสิทธิ์ผู้โอนกรรมสิทธิ์รถยนต์
เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แท้จริงหรือไม่ และในการ
จำนองรถยนต์เจ้าของกรรมสิทธิ์แท้จริงจะพิสูจน์จาก
หลักฐานใด เพราะตามกฎหมายเพียงแต่ให้
สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้มีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียน
รถยนต์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เท่านั้น ในส่วนการ
บังคับจำนองตามกฎหมายมีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติ
และใช้ระยะเวลาค่อนข้างล่าช้า 4) จากการศึกษา
ในปัญหาดังกล่าวข้างต้นจึงได้เสนอแนวทางแก้ไข
และปรับปรุงพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 และ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง


Keywords


พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2551, จำนอง, ใบคู่มือจดทะเบียนรถ, เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์

Full Text:

PDF

References


จี๊ด เศรษฐบุตร, (2551), หลักกฎหมายแพ่งลักษณะนิติกรรมและสัญญา. (พิมพ์ครั้งที่ 4), กรุงเทพฯ:

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จันทนี บุญพจนสุนทร. (2548). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการนำรถยนต์มาเป็นหลักประกันการชำระหนี้.

วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชุมพล จันทราทิพย์, (2548), คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะค้ำประกัน จำนอง

จำนำ, (พิมพ์ครั้งที่ 10), กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปัญญา ถนอมรอด, (2556), คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย ค้ำประกันจำนอง

จำนำ, (พิมพ์ครั้งที่ 9), กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

ปิติกุล จีระมงคลพาณิชย์, (2552), คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะค้ำประกัน

จำนอง จำนำ, (พิมพ์ครั้งที่ 4), กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

วรินทรา ชาครพิพัฒน์. (2545). วิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ.....

ศึกษาเฉพาะกรณีการนำกิจการมาเป็นหลักประกัน. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต

sสาขานิติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง