ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์เป็นหลักประกันการชำระหนี้ต่อสถาบันการเงิน1

เอกศักดิ์ สืบนิพนธ์

Abstract


วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์เป็นหลักประกันการชำระหนี้ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยวิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคในการนำมาใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ต่อสถาบันการเงิน เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว

จากการศึกษาพบว่า การนำเครื่องจักรและอุปกรณ์มาเป็นหลักประกันการชำระหนี้ต่อสถาบันการเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยจำนำและจำนองมีปัญหาในทางกฎหมายและวิธีปฏิบัติ กล่าวคือ ผู้จำนำต้องส่งมอบเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ให้กับผู้รับจำนำ ผู้จำนำจึงไม่สามารถใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อการประกอบกิจการได้ แม้ว่ามีการจัดทำสัญญาจำนำเครื่องจักรและอุปกรณ์ สัญญาเช่าอาคารโรงงาน และสัญญาส่งมอบทรัพย์จำนำให้กับผู้จัดการโรงงานเพื่อให้มีผลเป็นสัญญาจำนำระหว่างคู่สัญญา แต่มีคำพิพากษาของศาลฎีกาวินิจฉัยโดยให้เหตุผลว่าการส่งมอบทรัพย์ในลักษณะดังกล่าวไม่ถือเป็นการจำนำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนการจำนองแม้ผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบเครื่องจักรและอุปกรณ์ให้กับผู้รับจำนอง แต่มีการจำกัดประเภทของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่จำนอง รวมทั้งกระบวนการหรือขั้นตอนการจำนองต้องใช้ระยะเวลานาน จึงก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการนำเครื่องจักรและอุปกรณ์มาเป็นหลักประกันการชำระหนี้ต่อสถาบันการเงิน แม้ในปัจจุบันมีร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. .... ซึ่งเป็นหลักกฎหมายที่มีสาระสำคัญให้สามารถนำทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมาใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องส่งมอบการครอบครองให้กับผู้รับหลักประกัน และผู้รับหลักประกันมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันการชำระหนี้ รวมทั้งมีกระบวนการบังคับหลักประกันได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ผ่านกระบวนการทางศาล ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาและข้อจ􀂷ำกัดของการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์มาเป็นหลักประกันการชำระหนี้โดยการจำนำและการจ􀂷ำนอง ซึ่งกฎหมายในลักษณะนี้ได้พัฒนาและมีใช้มาแล้วในประเทศอื่นๆ เช่น ในประเทศอังกฤษมีกฎหมายที่เรียกว่า หลักประกันแบบลอย (Floating Charge) หรือในประเทศสหรัฐอเมริกามีกฎหมายเรียกว่า Uniform Commercial Code (UCC) Article 9 (Secured Transaction) อันเป็นกฎหมายแม่แบบเกี่ยวกับการนำทรัพย์สินมาเป็นหลักประกันการชำระหนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. .... ยังมีประเด็นปัญหาที่ไม่ชัดเจนเกี่ยวเกี่ยวกับ การไม่กำหนดประเภทของเครื่องจักรที่นำมาเป็นหลักประกัน ความหมายของการบังคับหลักประกันโดยวิธีประมูลโดยเปิดเผย และการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เจ้าของเครื่องจักร ดังนั้นวิทยานิพนธ์นี้จึงนำเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาและข้อจำกัดของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อให้นำเครื่องจักรและอุปกรณ์มาใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ต่อสถาบันการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


Keywords


หลักประกันการชำระหนี้, สถาบันการเงิน

Full Text:

PDF

References


กฎหมาย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514

พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551

พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483

พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520

ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. .... (ฉบับคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ. 2556)

กฎหมายต่างประเทศ

Company Act 1985

The Judicature Act 1873

Uniform Commercial Code (2010)

หนังสือ

กำชัย จงจักรพันธ์. (2557). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ศรีอนันต์การพิมพ์.

จิ๊ด เศรษฐบุตร. (2535). คำอธิบายกฎหมายแพ่งลักษณะทั่วไปแห่งหนี้. ม.ป.ท..

ชุมพล จันทราทิพย์. (2537). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ ค้ำประกัน จำนอง จำนำ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดารณี พุทธวิบูลย์. (2543). การจัดการสินเชื่อ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.

ถาวร โพธิ์ทอง. (2535). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยบุคคลและทรัพย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2551). กฎหมายเบื้องต้นทางธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนวัฒน์ เนติโพธิ์. (2527). ลักษณะของสัญญาจำนำที่ใช้ทางพาณิชย์. เอกสารประกอบการสอนชุดวิชากฎหมายธุรกิจ หน่วยที่ 12. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธรรมรัตน์ แสงจันทร์. (2551). กฎหมายธุรกิจเพื่อผู้บริหาร เล่ม 2. กรุงเทพฯ: เอส บี เค การพิมพ์.

ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2539). ระบบกฎหมายอังกฤษ. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประชุม โฉมฉาย. (2555). กฎหมายเอกชนเปรียบเทียบเบื้องต้น: จารีตโรมันและแองโกลแซกซอน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปิติกุล วีระมงคลพาณิชย์. (2544). งานวิจัยเสริมหลักสูตรวิชากฎหมายประกันด้วยบุคคลและทรัพย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พจน์ บุษบาคม. (2514). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการค้ำประกัน จำนอง จำนำ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เพ็ญพิมล ลีโนทัย. (2554). การเงินธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

ภัทรศักดิ์ วรรณแสง. (2554). หลักกฎหมายหนี้ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ร.แลงกาต์. (2526). ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย เล่ม 2 พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วงศ์วชิร โอวรารินทร์. (2550). กฎหมายลักษณะประกันด้วยบุคคลและทรัพย์ ค้ำประกัน จำนอง จำนำ. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

วิเชียร ดิเรกอุดมศักดิ์. (2549). แพ่งพิสดาร เล่ม 2 (ฉบับปรับปรุงใหม่). ม.ป.ท..

สมาคมสถาบันการศึกษาการธนาคารและการเงินไทย. (2547). โครงการเรียนรู้ด้วยตนเอง “กฎหมายการธนาคาร”. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอราวัณการพิมพ์.

สุดา (วัชรวัฒนากุล) วิศรุตพิชญ์. (2555). หลักกฎหมายค้ำประกัน จำนอง จำนำ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

สุนัย มโนมัยอุดม. (2545). ระบบกฎหมายอังกฤษ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

สุพจน์ กู้มานะชัย. (2550). ย่อหลักค้ำประกัน จำนอง จำนำ. กรุงเทพฯ: นิติธรรม

โสภณ รัตนากร. (2539). คำอธิบายกฎหมายลักษณะหนี้. กรุงเทพฯ: นิติบรรณการ.

อธึก อัศวานันท์. (ม.ป.ป). แนวทางพัฒนากฎหมายเพื่อส่งเสริมหลักประกันทางกฎหมาย. กรุงเทพฯ: Baker & Mackenzie.

วารสาร บทความ

ธนาคารแห่งประเทศไทย สายนโยบายสถาบันการเงิน. (2554). “หลักเกณฑ์การกำกับดูแลสถาบันการเงินภายหลังวิกฤตการเงินโลก”. บทความ Basel III.

ปกรณ์ นิลประพันธ์. (2545). “แนวคิดใหม่เกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินเป็นหลักประกันการชำระหนี้”. วารสารกฎหมายการปกครอง, (เล่มที่ 20), ตอนที่ 1.

ไพจิตร ปุญญพันธ์. (2521). “จำนำสิทธิ”. บทบัณฑิต, ตอนที่ 3 เล่มที่ 35.

สุวิทย์ สุวรรณ. (2553). “การประกันด้วยทรัพย์ตามหลักกฎหมายอเมริกัน”. วารสารกฎหมาย, คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์

ก่อเกียรติ พิมทอง. (2550). หลักสุจริตทางพาณิชย์. สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ศรีปทุม.

ธนวัฒน์ ชุมฉิม. (2554). มาตรการทางกฎหมายในการนำวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้ามาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

พนา เลิศเชิดชูพงศ์. (2556). ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการนำเครื่องหมายการค้ามาเป็นหลักประกันในทางธุรกิจ. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ยิ่งศักดิ์ เพชรนิล. (2546). หลักประกันทางธุรกิจและปัญหาการบังคับทรัพย์สินเป็นหลักประกัน. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รชต จำปาทอง. (2554). ปัญหาหลักประกันตามร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. .... วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรินทรา ชาครพิพัฒน์. (2524). วิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ... ศึกษาเฉพาะกรณีการนำกิจการมาเป็นหลักประกัน. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทยา จิญกาญจน์. (2537). การประกันหนี้ด้วยทรัพย์แบบ Floating Charge. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุชาดา กรรณสูต. (2542). การใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหลักประกันหนี้. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุญาณี ศิริภาณุรักษ์. (2555). การประกันการชำระหนี้ด้วยเงินฝากในสถาบันการเงิน. สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

อภิรดี พิบูลภานุวัฒน์. (2545). การพัฒนากฎหมายหลักประกัน. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

เอกสารอื่นๆ

ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส.31/2551 เรื่องหลักเกณฑ์การจัดชั้นสินทรัพย์และกันเงินสำรองของสถาบันการเงิน.

ระเบียบการปฏิบัติงานภายในธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (เอกสารไม่เปิดเผยต่อบุคคลภายนอก).

เอกสารภาษาต่างประเทศ

Earl Jowitt and Clifford Walsh. (1959). The Dictionary of English Law Volume I A-H. London: Sweet & Maxwell Limited.

Henry Campbell Black. (1979). Black’s Law Dictionar (Fifth Edition). St.Paul Minn: West Publishing.

John Burke. (1988). Osborn’s Concise Law Dictionary (Sixth Edition). London: Sweet & Maxwell.

Roger Le Roy Milleretal. (1999). West Business Law. London: West Publishing.

Rose Cranston. (1997). Principle of Banking Law. New York: Clarendon Press Oxford.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง