ปัญหากฎหมายในการนำสิทธิบัตรมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจตามร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ....1

ศศิธร เสาวคนธ์

Abstract


                วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการนำสิทธิบัตรมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจตามร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. .... ซึ่งได้มีการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ

                จากการศึกษาพบว่า กฎหมายการประกันการชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องจำนองและจำนำนั้นไม่อาจนำมาปรับใช้กับสิทธิบัตรได้ เนื่องจากสิทธิบัตรเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง มิใช่อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะก็มิได้มีบทบัญญัติที่กำหนดให้สิทธิบัตรสามารถนำมาเป็นหลักประกันการชำระหนี้ได้ ปัจจุบันได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. .... ของคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ ในคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคดังกล่าว อย่างไรก็ตาม แม้ว่าร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. …. จะกำหนดให้สิทธิบัตรสามารถนำมาเป็นหลักประกันการชำระหนี้ได้ แต่ยังมีหลักเกณฑ์บางประการที่ไม่ชัดเจนซึ่งเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการนำสิทธิบัตรมาเป็นหลักประกัน กล่าวคือ (1) ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดให้สิทธิบัตรเป็นประเภทของทรัพย์สินที่จะนำไปใช้เป็นหลักประกัน (2) ปัญหาเกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิบัตรที่เป็นหลักประกัน (3) ปัญญาเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าสิทธิบัตร (4) ปัญหาเกี่ยวกับการบังคับหลักประกันกับสิทธิบัตรที่นำมาเป็นหลักประกันดังนั้น วิทยานิพนธ์นี้จึงเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. .... เพื่อให้สามารถนำสิทธิบัตรมาเป็นหลักประกันได้อย่างแท้จริง ดังนี้ คือ (1) ควรกำหนดประเภทของทรัพย์สินที่สามารถนำมาเป็นหลักประกันให้หมายความรวมถึงสิทธิบัตรไว้โดยชัดเจน (2) ควรกำหนดให้ต้องทำสัญญาหลักประกันทางธุรกิจเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยกำหนดให้ขั้นตอนการจดทะเบียนหลักประกันและขั้นตอนการแจ้งการเป็นหลักประกันควรจะปฏิบัติให้เสร็จสิ้นในหน่วยงานเดียว (3) จัดให้มีองค์กรที่มีบุคคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการประเมินมูลค่าสิทธิบัตรโดยเฉพาะ ซึ่งอาจเป็นการจัดตั้งขึ้นมาในรูปขององค์กรภาคเอกชนเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อให้การกำหนดมูลค่าสิทธิบัตรมีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป และ (4) ควรกำหนดให้มีกระบวนการบังคับหลักประกันที่รวดเร็วด้วยการกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการจำหน่ายหลักประกันโดยวิธีการประมูลโดยเปิดเผย นอกจากนี้ ควรเพิ่มทางเลือกให้คู่สัญญามีโอกาสเลือกใช้วิธีการจำหน่ายสิทธิบัตรที่เป็นหลักประกันโดยวิธีอื่นเช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกานอกเหนือจากการประมูลโดยเปิดเผย


Keywords


พระราชบัญญัติ, สิทธิบัตร

Full Text:

PDF

References


กฎหมาย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. .... (ฉบับคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ. 2556)

กฎหมายต่างประเทศ

Uniform Commercial Code (UCC)

หนังสือ

จักรกฤษณ์ ควรพจน์. (2538). กฎหมายสิทธิบัตร: แนวความคิดและบทวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

____. (2544). กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยลิขสิทธิ์ สิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

____. (2544). สิทธิบัตร แนวความคิดและบทวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: บี. เจ. โปรเซสเซอร์.

เจริญ เจษฎาวัลย์. (2548). คู่มือการประเมินราคาทรัพย์สิน พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: บริษัท พิดี จำกัด.

ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2540). ลักษณะของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

____. (2545). ลักษณะของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2551). ลักษณะของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา พื้นฐานความรู้ทั่วไป ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า เซมิคอนดัคเตอร์ชิปพันธุ์พืชใหม่ พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2537). กฎหมายเบื้องต้นทางธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2529). ระบบกฎหมายอังกฤษ. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิวัฒน์ มีลาภ. (2534). กฎหมายลิขสิทธิ์ สิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บัญญัติ สุชีวะ. (2535). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยลักษณะทรัพย์ ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท กรุงสยาม พริ้นติ้ง กรุ๊พ จำกัด.

ปริญญา ดีผดุง. (2540). รวมคำบรรยายภาคหนึ่งสมัยที่ 50 ปีการศึกษา 2540 เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท กรุงสยาม พริ้นติ้ง จำกัด.

ประมูล สุวรรณศร. (2539). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยทรัพย์ แก้ไขเพิ่มเติมโดย นายพัฒน์ เนียมกุญชร. กรุงเทพฯ: นิติบรรณการ.

พจน์ ปุษปาคม. (2533). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการค้ำประกัน จำนอง จำนำ สิทธิยึดหน่วง และบุริมสิทธิ (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แสวงสุทธิการพิมพ์.

ไพโรจน์ ซึงศิลป์. (2538). หลักการประเมินราคาทรัพย์สิน พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศุธาศิน.

มานิตย์ จุมปา. (2543). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยทรัพย์สิน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไมตรี สุเทพากุล. (2557). รวมคำบรรยายภาคหนึ่งสมัยที่ 67 ปีการศึกษา 2557 เล่มที่ 14. กรุงเทพฯ: สำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

ยรรยง พวงราช. (2543). คำอธิบายกฎหมายสิทธิบัตร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

สมบูรณ์ บุญกินนท์. (2532). ข้อสังเกตุเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร และลิขสิทธิ์ในกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา รวบรวมโดยบริการส่งเสริมงานตุลาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม.

สมยศ เชื้อไทย. (2538). คำอธิบายวิชากฎหมายแพ่ง หลักทั่วไป ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สุพิศ ปราณีตพลกรัง. (2549). กฎหมายสิทธิบัตร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อฑตยา มิเล็นเนียม.

สุวิทย์ สุวรรณ. (2553). วารสารกฎหมายการประกันด้วยทรัพย์ตามหลักกฎหมายอเมริกัน. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสนีย์ ปราโมชย์. (2528). คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายลักษณะทรัพย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสาส์น.

อธึก อัศวานนท์. (ม.ป.ป.). แนวทางพัฒนากฎหมายเพื่อส่งเสริมหลักประกันทางกฎหมาย. ม.ป.ท..

อารีพรรณ จงประกิตพงศ์. (2537). สาระน่ารู้ทรัพย์สินทางปัญญา เล่ม 2. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

วารสาร บทความ

ปกรณ์ นิลประพันธ์. (2544). “แนวความคิดใหม่เกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินเป็นหลักประกันการชำระหนี้”. วารสารกฎหมายปกครอง.

วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์

ฉิ้น ประสบพิชัย. (2553). สิทธิประโยชน์ของผู้ทรงสิทธิบัตรร่วม. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พัชรินทร์ ไวกวี. (2540). หลักประกันสินเชื่อธนาคารพาณิชย์. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิทยา จิญกาญจน์. (2537). การประกันหนี้ด้วยทรัพย์แบบ Floating Charge. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรตม์ ดิษฐปาน. (2555). การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อวัตถุประสงค์ทางภาษีเงินได้. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุชาดา กรรณสูต. (2541). การใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหลักประกันการชำระหนี้. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวรรณ์ นามตะ. (2541). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับลักษณะของการประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้: ศึกษากรณีเปรียบเทียบกฎหมายไทยและกฎหมายอังกฤษ. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง