การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2

นัฐรียา ฉัตรรักษา

Abstract


              การบริหารจัดการงานวิชาการเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการศึกษา เพราะเป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของผู้เรียน แต่สภาพการบริหารจัดการงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในปัจจุบันยังเป็นปัญหาสำคัญควรหารูปแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสม ความมุ่งหมายของการวิจัยครั้งนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาการบริหารจัดการงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประธานกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนครูในกรรมการสถานศึกษา จำนวน 285 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์

                การวิจัยมี 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 สร้างเครื่องมือในการศึกษาสภาพ ปัญหาการบริหารจัดการงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaire) แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบประมาณค่า (Rating Scale) โดยแบ่งเป็น 5 ระดับ ขั้นตอนที่ 3 สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้แทนผู้ปกครองนักเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการในสถานศึกษา จาก 3 โรงเรียน จำนวน 15 คน ขั้นตอนที่ 4 ยืนยันรูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 จากผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านวิชาการ จำนวน 9 คน โดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ขั้นตอนที่ 5 สร้างรูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 ขั้นตอนที่ 6 ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 จากผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ จำนวน 9 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

             ผลการวิจัย สภาพปัจจุบัน และบัญหาการบริหารจัดการงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 โดยรวมมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ ส่งเสริม สนับสนุนการจัดระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและการรับประเมินจากภายนอก รองลงมาคือ ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาสาระหลักสูตรสถานศึกษาที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และส่งเสริม สนับสนุนการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน

            รูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 มี 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การร่วมค้นหา กระบวนการดำเนินงานคือ การร่วมส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาสาระหลักสูตรสถานศึกษาที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) การร่วมวางแผน กระบวนการดำเนินงานคือส่งเสริม สนับสนุนสถานศึกษาจัดให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 3) การร่วมตัดสินใจ กระบวนการดำเนินงานคือ การส่งเสริม สนับสนุนการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน 4) การร่วมปฏิบัติการ กระบวนการดำเนินงานคือ การส่งเสริม สนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนและการวิจัย 5) การร่วมติดตามและประเมินผล กระบวนการดำเนินงานคือ การส่งเสริม สนับสนุนการจัดระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและการรับประเมินจากภายนอก 6) การร่วมเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กระบวนการดำเนินงานคือ การส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาร่วมมือกับบุคคลและองค์กรต่างๆ ส่งเสริมความเข้มแข็งทางชุมชนโดยใช้กระบวนการของการศึกษา


Keywords


การบริหารจัดการงานวิชาการ

Full Text:

PDF

References


กรมวิชาการ. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2545.

กระทรวงศึกษาธิการ. การปฏิรูประบบการบริหารการศึกษาในกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์การศาสนา, 2542.

_____. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2546 ค.

เจริญ ราชโสภา. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์. กศ.ด. : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2554.

เตือนใจ รักษาพงศ์. การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา, 2551.

ธรรมกมล แก้วบ่อ. การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดการศึกษาโรงเรียนในสังกัดเทศบาลขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ รป.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2549.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คู่มือปฏิบัติงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา, 2547

Delagardelle, Mary L. “Roles and Responsibilities of Local School Board Members inRelation to Student Achievement,” Dissertation Abstracts International. 67(08) : unpaged ; February, 2006.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง