มาตรการทางกฎหมายในการให้ความคุ้มครองพืชสมุนไพรไทย เพื่อรองรับความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน
Abstract
พืชสมุนไพรเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการวิจัย และยังมีมูลค่าทางเศรษฐกิจจำนวนมาก
พืชสมุนไพรจึงเป็นที่ต้องการของบรรดานักวิจัย
หรือนักลงทุนที่ต้องการแสวงหาประโยชน์
เชิงพาณิชย์จากพืชสมุนไพร ใน พ.ศ. 2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน
โดยการเปิดเสรีการลงทุนนั้นสมาชิกอาเซียนได้
ให้สิทธิพิเศษกับนักลงทุนประเทศสมาชิกอาเซียนและนักลงทุนต่างชาติที่มีกิจการอยู่ในอาเซียนในการเข้ามาลงทุนได้อย่างเสรีมากยิ่งขึ้น ซึ่งการเปิดเสรีดังกล่าวอาจเป็นช่องทางหนึ่งให้กลุ่มนักลงทุนต่างชาติจะเข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพืชสมุนไพรรวมถึงการจดทรัพย์สินทางปัญญาจากพืชสมุนไพร โดยไม่ต้องขออนุญาตการเข้าถึงพืชสมุนไพร
และการแบ่งปันผลประโยชน์ทั้ง ๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรในประเทศไทย ทั้งนี้โดยการนำเอาฐานความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน
ในเรื่องพืชสมุนไพรไปพัฒนาต่อยอดทำการวิจัยค้นคว้าเพื่อผลิตยาชนิดใหม่ขึ้นมา ซึ่งวิธีการนี้
นักวิจัยสามารถลดต้นทุนและระยะเวลาในการ
ทำวิจัยได้อย่างมาก และผลงานวิจัยนั้นถือว่า
เป็นเทคโนโลยีใหม่ เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ โดยถือว่าเป็นผลงานมาจากสติปัญญาของผู้วิจัย และจะได้รับความคุ้มครองด้วยระบบกฎหมายสิทธิบัตร
แต่บุคคลเหล่านั้นกลับไม่เคยแบ่งปันผลประโยชน์คืนสู่ประเทศเจ้าของทรัพยากรพืชสมุนไพรเลย
หรือถ้าหากมีการแบ่งปันผลประโยชน์ก็มีการแบ่งปันที่ไม่เป็นธรรม
Full Text:
PDFReferences
กฤตญาภัค อุ่นเสรี. (2554). ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. สถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.
ชยันต์ ตันติวัสดาการ และ ปัทมาวดี โพชนุกูล ซุซุกิ. (2551). รายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ความพร้อมของไทยในการเข้าร่วมสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร. โครงการพัฒนาความรู้และยุทธศาสตร์ด้านความตกลงพหุภาคีระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม.
ธนิต ชังถาวร และคณะ. (2552). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาสถานภาพเรื่องการจัดการการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรชีวภาพในองค์กรวิจัยและพัฒนาในประเทศไทย: กรณีศึกษาทรัพยากรชีวภาพพืช. ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ และคณะ. (2551). โครงการพัฒนาความรู้และยุทธศาสตร์ด้านความตกลงพหุภาคีระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
พชร ลิมป์จันทรา. (2550). การคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นภายใต้กฎหมายของประเทศไทยเปรียบเทียบกับความตกลงระหว่างประเทศ. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พันธ์เทพ วิทิตอนันต์. (2551). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์พร้อมร่างกฎหมาย เรื่องแนวทางการจัดทำร่างกฎหมายด้านการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย (Guideline on the Drafting of Biodiversity Management Act in Thailand). สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ. (2553). โลกาภิวัตน์กับความหลากหลายทางชีวภาพ. กรมพัฒนาการแพทย์ทางเลือก มูลนิธิชีววิถี.
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ. (2550). รายงานการศึกษากรอบความคิดการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
อรรัมภา รัตนมณี. (ม.ป.ป.). บทความเรื่องการนำอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD) และความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (TRIPs)
มาใช้ในการคุ้มครองทรัพยากรชีวภาพในประเทศกำลังพัฒนา. ม.ป.ท.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง