กลยุทธ์การจัดการสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ของธุรกิจโรงแรม : กรณีศึกษาโรงแรมในเครือ เกษมกิจ กรุ๊ป

สัญญลักษณ์ เหมือนดาว

Abstract


            การศึกษาวิจัยในครั้งนี้จะมุ่งประเด็นในการศึกษาความสัมพันธ์ของการบริหารจัดการสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ของธุรกิจโรงแรมในเครือ เกษมกิจ กรุ๊ป เกี่ยวกับประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจและมีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้กรอบแนวคิดของแผนที่กลยุทธ์ของ : Robert S. Kaplan และ David P. Norton (2004) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการแจกแบบสอบถามแก่ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง จำนวน 200 คน

มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and growth Perspective) กระบวนการภายใน (Internal Business Process) ปัจจัยด้านลูกค้า (Customer) ของการบริหารจัดการสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ในธุรกิจโรงแรมของเครือ เกษมกิจ กรุ๊ป (2)เพื่อวิเคราะห์ถึงอิทธิพลของกลยุทธ์การจัดการสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ใน 3 ด้าน คือ ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and growth Perspective) ด้านกระบวนการภายใน (Internal Process) และปัจจัยภายนอกด้านลูกค้า (External Structure; Customer) ของโรงแรมในเครือ เกษมกิจ กรุ๊ป ต่อประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ (Business Performance)

                ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยทางด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and growth Perspective) มีความสัมพันธ์ต่อกระบวนการภายใน (Internal Process) (2) ปัจจัยทางด้านกระบวนการภายใน (Internal Process) มีความสัมพันธ์กับปัจจัยภายนอกด้านลูกค้า (External Structure Customer) (3) ปัจจัยทางด้านปัจจัยภายนอกด้านลูกค้า (External Structure Customer) มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ (Business Performance) (4) ปัจจัยทางด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and growth Perspective) มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ (Business Perfor­mance) จากการวิเคราะห์ข้างต้นแสดงให้เห็นว่าทุกมิติของกลยุทธ์การจัดการสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ของธุรกิจโรงแรมในเครือเกษมกิจ กรุ๊ป ล้วนมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และด้านกระบวนการภายใน (Internal Process) ที่ประกอบไปด้วย การปรับปรุงกระบวนการ (Process Improvement) นวัตกรรมการบริการ (Service Innovation) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)ถือเป็นส่วนที่องค์กรให้ความสำคัญอย่างสูงเนื่องด้วยมีค่าเฉลี่ยในการตอบแบบสอบถามของผู้บริหารมากที่สุด 


Keywords


สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้, การเรียนรู้และการพัฒนา, ประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ, โรงแรม

Full Text:

PDF

References


ชัฏชลัยย์ จิวะเกียรติ. (2542). ผลการปฏิบัติงานของโรงแรมในเขตกรุงเทพมหานคร : การวิเคราะห์ตามแนวคิดการบริหารเชิงดุลยภาพ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บริหารธุรกิจ (บริหารธรุกิจ). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เซ็นทรัลพลาซ่า. (2555). บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล จำกัด. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2557, จาก http://central-th.listedcompany.com/company_background.html

ดุสิตธานี. (2552). สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2557, จากhttp://dtc-th.listedcompany. com/company

บริษัท เกษมกิจ จำกัด. (2555). โรงแรมในเครือเกษมกิจ กรุ๊ป. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2557, จาก www.kasemkij.com/kjcompany.html และhttp://kasemkij.com/fact_sheets_th.html

ประชาชาติธุรกิจ. (2555). การปรับตัวกลยุทธ์รับ AEC. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2557, จากhttp://www.thai-aec.com/96#more-96

ผู้จัดการออนไลน์. (2556). เกษมกิจ โฮเทลส์ยิ้ม กวาด 8 รางวัลสุดยอดโรงแรมระดับโลก. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2557, จาก www.manager.co.th/asp-bin/mgrview.aspx?NewsID

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2557). กสิกรไทยคาดธุรกิจโรงแรมปี 57 โต 3.5-5.7%, [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 31 สิงหาคม 2557,จาก http://www.thanonline.com/index.php

ศิริพงศ์ พฤทธิพันธ์, (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ :บริษัท ฮาซันพริ้นติ้ง จำกัด.

Bontis, M.E. (2000). Assessing Knowledge Assets: A review of the models used to measure intellectual capital. Framework paper, retrieved 3 September 2014, from

Chen, M.C., Cheng, S.J. & Wang, Y. (2005). An empirical investigation of the relationship between intellectual capital and firms’ market value and financial performance. Journal of Intellectual Capital, 6(2), 159-176.

Edvisson, L., & Malone, M.S. (1997). Intellectual Capital, New York : Harper Collins Public Inc.

Juergen H. Daum.(2002). Intangible Assets and Value Creation. Retrieved November 2, 2014, from jueergendaum.com/mybook.htm

Kaplan, R. & Norton, D. (2004). Strategy Maps: Converting Intangible Assets into Tangible Outcomes, Harvard Business School, Cambridge, MA.

Kaplan, R. & Norton, and D. (1992). The balanced scorecard: Measures that drive performance. Harvard Business Review, 70(1), 71-79.

Kasemkij Group. (2551). สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2557, จาก http:/www.kasemkij.com/index_th.html

Robert S.Kaplanและ David P.Norton. (2004). แผนที่ยุทธศาสตร์. (สมพงษ์ สุวรรณจีรกุล, ผู้แปล).กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ผู้จัดการ.

Wang, W-Y., &Chang, C. (2005). Intellectual capital and performance in causal models: Evidence from the information technology industry in Taiwan. Journal of Intellectual Capital, 6(2), 222-236.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง