การพัฒนารูปแบบการบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลของสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิผล ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิผล ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ การบริหารงานบุคคลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 375 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และแบบสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
การบริหารงานบุคคลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้าน มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านการวางแผนกำลังคน รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติต่ำสุด คือ การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษา
Keywords
Full Text:
PDFReferences
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). กระทรวงศึกษาธิการกับการขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.
_______. (2552). คู่มือปฏิบัติการนำร่องปฏิรูปกระทรวงศึกษาธิการ ภารกิจด้านการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.
จิรพจน์ สุนาถวนิชย์กุล. (2543). การพัฒนาทรัพยากรบุคคล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แสงธรรม.
ชุบ กาญจนประกร. (2552). การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทิพากร.
ติน ปรัชญาพฤทธ์. (2553). ทฤษฎีการบริหารจัดการ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ละมัย สุขเอี่ยม. (2552). ทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนและครูต่อบทบาทการบริหารบุคลากรครูของกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (บริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.
วิรัตน์ จันทร์สุวรรณ. (2553). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา.วิทยานิพนธ์ ค.ม. (ประถมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2554). หลักการบริหารองค์การทางการศึกษา. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วีระศักดิ์ กิติวัฒน์. (2550). หลักการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: เลิศภักดีสโตร์.
สมยงค์ แก้วสุพรรณ. (2552). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผลเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กันยายน 2553).
Donaldson, B. (2000). Educational Planning. New York : Macmillan.
Gluck S. (1965). Personnel: The Management of People at Work. New York: Macmillan.
Harris, C.. (1996). Management. New York : Mc Graw–Hill.
Harry Tomlin, and Gary Holmes. (2001). The management of Personnel. California: Wadesworth Publishing Company Inc.
Hoy & Miskel.(2008). Learning Places. Thousand Oak, CA : Corwin Press. Ontario Principal’s Council.
World Bank. (1999). “Education in Thailand.” Social Policy and Governance
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง