การเปิดรับสื่อโฆษณากลางแจ้งประเภทดิจิตอลและความตั้งใจซื้อสินค้าบนสื่อโฆษณากลางแจ้งประเภทดิจิตอลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

รวิภา สุขสุสาสน์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา การเปิดรับสื่อโฆษณากลางแจ้งประเภทดิจิตอลและความตั้งใจซื้อสินค้าบนสื่อโฆษณากลางแจ้งประเภทดิจิตอลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาถึงลักษณะประชากรศาสตร์ พฤติกรรมการเปิดรับสื่อโฆษณากลางแจ้งประเภทดิจิตอล รูปแบบการดำเนินชีวิตด้านกิจกรรม ด้านความสนใจ และด้านความคิดเห็น การรับรู้ข้อมูลทางการตลาดผ่านสื่อโฆษณากลางแจ้งประเภทดิจิตอล และความตั้งใจซื้อสินค้าบนสื่อโฆษณากลางแจ้งประเภทดิจิตอล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์เชิงถดถอยแบบพหุคูณ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคมีระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ย

เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีความตั้งใจซื้อสินค้าบนสื่อโฆษณากลางแจ้งประเภทดิจิตอลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 พฤติกรรมการเปิดรับสื่อโฆษณากลางแจ้งประเภทดิจิตอล ประกอบด้วยระดับความถี่ ระยะเวลา สถานที่ และการอ่านข้อความบนสื่อโฆษณาดิจิตอลแตกต่างกันมีความตั้งใจซื้อสินค้าบนสื่อโฆษณากลางแจ้งประเภทดิจิตอลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 รูปแบบการดำเนินชีวิตซึ่งประกอบด้วย ด้านกิจกรรม ด้านความสนใจ และด้านความคิดเห็น สามารถทำนายความตั้งใจซื้อสินค้าบนสื่อโฆษณากลางแจ้งประเภทดิจิตอล ได้ร้อยละ 54.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 การรับรู้ข้อมูลทางการตลาดผ่านสื่อโฆษณากลางแจ้งประเภทดิจิตอล สามารถทำนายความตั้งใจซื้อสินค้าบนสื่อโฆษณากลางแจ้งประเภทดิจิตอล ได้ร้อยละ 82.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


Keywords


การเปิดรับสื่อ, ความตั้งใจซื้อ, สื่อโฆษณากลางแจ้ง

Full Text:

PDF

References


กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดารา ทีปะปาล. (2542). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: รุ่งเริ่องสาส์นการพิมพ์.

ทวารัตน์ ผ่านพินิจ. (2556). สื่อโฆษณาในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสที่มีต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บธ.ม. (การตลาด). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม. ถ่ายเอกสาร.

ปรมะ สตะเวทิน. (2542). หลักและทฤษฏีการสื่อสาร (หน่วยที่ 1). ในความหมาย ความสำคัญ วัตถุประสงค์และประเภทของการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : สถาบัญราชภัฎนครปฐม.

ปุญชรัสมิ์ ตระกลตรีสัตย์. (2556). รูปแบบการดำรงชีวิต แรงจูงใจ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถยนต์ประหยัดพลังงาน ประเภทไฮบริด (Hybrid) ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ บธ.ม. (การตลาด). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.

วิภาดา พิทยาวิรุฬห์. (2557). สื่อดิจิตอลที่มีอิทธิพลต่อการตอบสนองของผู้บริโภคในการเข้าถึงข้อมูลทางการตลาด. ปริญญานิพนธ์ บธ.ม. (การตลาด). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: พัฒนศึกษา.

¬¬____. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมสาร.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2556). “สื่ออินสโตร์ และสื่อโฆษณาเคลื่อนที่ โตสวนทางตลาดโฆษณาซบเซา.....ดิจิตอลเสริมทัพ รับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่” ปีที่ 19 ฉบับที่ 2398 วันที่ 6 กันยายน 2556

สุวัฒนา วงษ์กะพันธ์. (2530). การสื่อสารการตลาด : เอกสารการสอนชุดวิชาธรุ กิจการ โฆษณา (หน่วยที่1-5). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

อดุลย์ จาตุรงคกุล และดลยา จาตุรงคกุล. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Blackwell, R.D; Miniard, P.W; & Engel, J.F. (2001). Comsumer behavior. 9th ed. New York: Harcourt.

Bo, Reimer. (1995). Youth and Modern Lifestyles in Youth Culture in Late Modernity. Johan Fomas and Goran Bolin.London: Sage Publications.

Kotler; & Armstrong. (2002). Principles of marketing. 9th ed. New Jersey: Prentice-Hall.

Kotler, Philip. (2000). Marketing Management. 10th ed. New Jersey: Prentica –Hall, Inc.

Lehdonvirta, V. (2009). Virtual Item Sales as a Revenue Model: Identifying Attributes that Drive Purchase Decisions. Electronic Commerce Research, 9(1): 97-113.

Morrison.E.W. (1996). Organization citizenship behavior as a critical link between HRM practices and service quality. Human resource Management.

Schiffman; Leon G; & Kanuk, Leslie Lazer. (2007). Consumer Behavior. 7th ed. New Jersey: PranticeHall, Inc.

Solomon, M.R. (2002). Consumer behavior. Buying, having, and being 5th ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง