การส่งเสริมงานอนุรักษ์งานปักผ้าเครื่องแต่งตัวชุดโขน ละครรำไทยของชุมชนเขียนนิวาสน์ ตรอกไก่แจ้ กรุงเทพมหานคร

เสาวภา ไพทยวัฒน์

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการถ่ายทอดความรู้และสร้างอาชีพงานปักผ้า
ชุดโขน ละครรำไทย ของชาวชุมชนเขียนนิวาสน์ตรอกไก่แจ้ 2) ปัจจัยในการสนับสนุนเพื่อส่งเสริมอาชีพงานปักผ้าชุดโขน ละครรำไทยของชาวเขียนนิวาสน์
ตรอกไก่แจ้ ให้ดำรงอยู่และสืบสานอย่างยั่งยืน
ผลการศึกษาพบว่า การถ่ายทอดความรู้งานปักผ้าเครื่องแต่งกายชุดโขน ละครรำไทย ของชุมชนเขียนนิวาสน์ ตรอกไก่แจ้ เป็นการสอนงาน
จากหัวหน้างานและให้ค่าจ้างเป็นรายชิ้น
โดยผู้ร่วมงานทำการปักตามรูปแบบมาตรฐาน
ของกรมศิลปากร โดยมีปัจจัยที่สนับสนุน
ด้านความเชื่อถืองานปักผ้าที่มีคุณภาพและ
มีความซื่อสัตย์พร้อมกับเรียกค่าจ้างที่ไม่สูงมาก
งานปักผ้าชุดเครื่องแต่งตัวชุดโขน ละครรำไทย

เป็นงานที่คนในชุมชนกลุ่มที่มีความสามารถ
ด้านนาฏศิลป์ไทยได้จัดทำผ้าปักเครื่องแต่งกาย
ชุดโขน ละครรำไทย เพื่อใช้ในงานบุญปีใหม่อุทิศถวายแด่กรมหมื่นจักรเจษฎาซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน
ในประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จากปัจจัย
ที่สนับสนุนแต่พบว่าขาดความต่อเนื่องในการสร้าง
คนกลุ่มใหม่ กลุ่มคนหนุ่มสาวของชุมชนมีงานอาชีพอื่นแล้ว จึงมิได้หันมาประกอบอาชีพงานปักผ้า
ซึ่งส่งผลให้งานปักผ้าของชุมชนยังคงเป็นงานเล็กๆ ที่ไม่สามารถขยายกลุ่มอาชีพได้
ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและการถ่ายทอดความรู้ด้านงานปักผ้าเครื่องแต่งตัวชุดโขน ละครรำไทย
ของชุมชนเขียนนิวาสน์ ตรอกไก่แจ้ สมควร
ขยายงานโดยให้คนรุ่นใหม่ในชุมชนเข้ามาเพื่อฝึกฝนแทนคนรุ่นเก่า 4 คน โดยขอรับความร่วมมือ

จากสถานศึกษาของกรมศิลปากรและการนำเสนอ
การประชาสัมพันธ์ตนเองในงานช่างปักผ้าชุดโขน
ละครรำไทย ในรายการโทรทัศน์พร้อมการฝึกอบรม
เพื่อสร้างคน สร้างงาน สร้างอาชีพ ในการประกอบ
อาชีพดังกล่าวนี้ได้ตลอดไป


Full Text:

PDF

References


กุลธิดา มังกรไชยา. (2551). ภูมิปัญญาชุมชนบ้านบุในการผลิตขันลงหินเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กรองแก้ว แรงเพ็ชร์. (2549). องค์ประกอบการแสดงลิเก พรเทพ พรทวี. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จีรพัฒน์ พีระสันต์และคณะ. (2553). การพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมประเภทเครื่องสังคโลก

ในเขตพื้นที่มรดกโลกสุโขทัย. กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชวลิต สุนทรานนท์ บรรณาธิการ. (2547). การแต่งกายละครและการพัฒนาการแต่งกายยืน

เครื่องละครใน กรมศิลปากร. กรุงเทพฯ: รุ้งศิลป์การพิมพ์.

ชวลิต สุนทรานนท์ บรรณาธิการ. (2550). กรณีศึกษาและการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการแต่งกายยืนเครื่องโขน-ละครรำ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ปริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน).

ชิตสุภางค์ อังสวานนท์. (2551). การศึกษาอิทธิพลของการพัฒนาต่อรูปแบบนาฏศิลป์ไทย. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัชชา เข็มเจริญ. (2524). การผลิตและการตลาดเครื่องเบญจรงค์ของกลุ่มสตรีสหกรณ์: กรณีศึกษากลุ่มสตรีพัฒนาบางโทรัด. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สหกรณ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นิตยา เงินประเสริฐศรี. (2540). ทฤษฎีองค์กร: แนวทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: เชิดชูบูรณาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปัทมา มีคลองธรรม. (2539). การอนุรักษ์ศึกษาแวดล้อมในพระบรมมหาราชวังในรัชกาล

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2548). พฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร จำกัด.

เรืองแสง ทองสุขแสงเจริญ. (2542). การรับรู้ปัญาหาและการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แหล่ง

โบราณสถานของประชาชนในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

วินัย หมื่นคติธรรม และวิทยา เมฆขำ. (2549). สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปหัตถกรรมโลหะ

กรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วิโรจน์ ตั้งสกุล. (2547). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน กรณีศึกษา เครื่องทองลงหินชุมชนประดิษฐ์โทรการ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาสังคมเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

เอกประวัติ เสมดี. (2541). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดการสภาพแวดล้อมบริเวณโบราณสถาน : ศึกษากรณีพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง