อิทธิพลของกระบวนการสื่อสารในเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจจองที่พักผ่านอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภค

วันชัย สุขสะปาน

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการในการใช้สังคมออนไลน์ ในตัดสินใจเลือกจองที่พักผ่านอินเทอร์เน็ต 2) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกจองที่พักผ่านอินเทอร์เน็ต และ 3) เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้สังคมออนไลน์และส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจจองที่พักผ่านอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคในแต่ละ Generation

                ระเบียบวิธีวิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 ราย แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา ทดสอบหาค่าความแตกต่างโดยใช้ t-test และ ANOVA F-test การหาค่าแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้วิธีการของ Scheffe และค่าสัมประสิทธิ์เพียร์สัน (Pearson Correlation)

                ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการใช้สังคมออนไลน์ในการจองห้องพักผ่านอินเทอร์เน็ต ส่วนใหญ่จองที่พักประเภท รีสอร์ท/บังกะโล มีความถี่ในการจองที่พักปีละ 2-3 ครั้ง จำนวนเงินจองที่พักแต่ละครั้ง 1,000-2,000 บาท ใช้การสื่อสารในการจองที่พักประเภทโทรศัพท์ สังคมออนไลน์ที่ใช้ในการจองที่พักประเภท Facebook โดยจองที่พักผ่าน Website ตัวแทนขาย จองที่พักผ่านตัวแทน Agoda และเหตุผลเพื่อสะดวกต่อการจองที่พัก 2) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาด 7P ของผู้บริโภคที่ใช้สังคมออนไลน์มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจจองที่พักผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และ 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน การตัดสินใจจองที่พักผ่านอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคในแต่ละรุ่น ในด้านพฤติกรรมการในการใช้สังคมออนไลน์ พบว่า ด้านความถี่ในการจองที่พักผ่านอินเทอร์เน็ตมีความแตกต่างกัน ส่วนด้านส่วนประสมการตลาด 7P ในแต่ละด้านโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน


Keywords


การจองที่พัก, สังคมออนไลน์, อินเทอร์เน็ต

Full Text:

PDF

References


กานต์ทิตา รณฤทธิวิชัย. (2553). แนวทางการนำการตลาดอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในธุรกิจโรงแรม กรณี ศึกษาโรงแรมปทุมวันปริ้นเซส. การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารเทคโนโลยี) วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จตุพร รัตน์เถลิงศักดิ์. (2555). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกใช้บริการระบบจองห้องพักออนไลน์ของธุรกิจที่พักในประเทศไทย.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฏฐา อุ่ยมานะชัย. (2556). ผู้ทรงอิทธิพลในโลกออนไลน์กับพลังการบอกต่อการสร้างกระแสโน้มน้าวใจผู้บริโภค. วารสารนักบริหาร, 33(3), 47-51, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฐภรณ์ เหลืองพิพัฒน์. (2555). อิทธิพลความคิดเห็นออนไลน์ต่อการตัดสินใจจองที่พักราคาประหยัด(Hostel) ในเขตกรุงเทพมหานครของนักท่องเที่ยว. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาการจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ทรงชัย ณะอำภัย. (2557). Hotels Marketing Trends 2014 การตลาดโรงแรม 2014. [สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2557]. จาก http://www.songchaiblog.com/

ธีรพล ด่านวิริยะกุล. (2549). ระบบจองห้องพัก กรณีศึกษาโลลิต้าบังกะโลเกาะสมุย. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเก้าพระนครเหนือ.

นิศารัตน์ จิรรุ่งแสงสถิต. (2556). ทัศนคติและส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจจองที่พักบนอินเทอร์เน็ตของนักท่องเที่ยวชาวไทยในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บัณฑิตวิทยาลัย สาขาธุรกิจการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปณิชา นิติพรมงคล. (2554). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ปริญ ลักษิตานนท์. (2544). จิตวิทยาและพฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: เหรียญบุญการพิมพ์ (1998).

ปาณทิพย์ เปลี่ยนโมฬี. (2554). การนำ Online Social Network มาใช้กับการตลาดและธุรกิจ. วารสารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, 54(34), อุตสาหกรรมสาร.

ปาณิสรา เร้ารุจา. (2550). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการให้ความสำคัญในการจองที่พักผ่านอินเทอร์เน็ตของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปใน เขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหาร ธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์, E-Commerce ในธุรกิจจริง-เรียนรู้จากกรณีศึกษาเด่นทั่วโลม. พิมพ์ครั้งที่ 1: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2545.

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. (2553). บทวิเคราะห์ธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ทปี 2553. [สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2557]. จาก http://www.sme.go.th/SiteCollectionDocuments/วิจัยSMEs/สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ/รายงานบทวิเคราะห์ธุรกิจภาคการผลิตและบริการ/บทวิเคราะห์ธุรกิจ-โรงแรมและรีสอร์ท ปี 2553.pdf

สยามธุรกิจ. (2556). ยอดผู้จองห้องพักผ่านเว็บ Airbnb ในไทย. [สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2557]. จาก http://www. siamturakij.com/home/news/print_news.php?news_id=413373894

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). การมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2557. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. [สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2558]. จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/service/survey/ICT-HouseExc57.pdf

สำนักจัดหางานกรุงเทพมหานคร. (2556). จำนวนเขตพื้นที่จัดหางานกรุงเทพฯ. [สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2557]. จาก http://www.jobdoe.com/office6/index.php/2012-09-19-08-28-50. กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน สำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ 1 – 10.

สุทธาภา อมรวิวัฒน์ และคณะ. (2557). Insight กลยุทธ์มัดใจผู้บริโภค Gen Y. วารสารธนาคารไทยพาณิชย์. [สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2557]. จาก EIC Online www.scbeic.com

สุรวนี เชื้อครุฑ. (2554). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการจองที่พักในจังหวัดเชียงใหม่ทางอินเทอร์เน็ต. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Blue house network. (2556). การจองห้องพักผ่านอินเทอร์เน็ต. [สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2557]. จาก http://www.bluehouseenterprise.com/index.php?option=com_k2&view=item&id=335:sources-of-internet-hotel-booking&Itemid=321

Blue house travel. (2556). สถิติการจองห้องพักผ่านอินเทอร์เน็ต (Hotel’s internet booking share). [สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2557]. จาก http://www.statisticbrain.com/internet-travel-hotel-booking-statistics

Cushman & Wakefield. (2556). Global perspective on retail : online retailing. A Cushman and Wakefield Researech Publication. : 7-8.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง