ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร

โศภณ นนทประดิษฐ์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์
กับพฤติกรรมการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร
กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คนโดยใช้แบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ และมาตรวัด 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ t-test, F-test (One-way ANOVA) และหาค่าความสัมพันธ์โดยค่าไค-สแควร์
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 30-35 ปี สถานภาพเป็นโสด จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 30,001-40,000 บาท
2. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ พบว่า ในภาพรวมปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ระดับมาก

3. ผู้บริโภคมีวัตถุประสงค์ในการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์เพื่อตกแต่งบ้าน เหตุผลในการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์เพราะมีความแข็งแรงทนทานและสามารถถอดประกอบได้ ชำระเงินด้วยบัตรเครดิต สามี ภรรยาจะตัดสินใจเลือกซื้อร่วมกัน โดยค้นหาข้อมูลผ่านสื่อทางอินเตอร์เน็ตและนิยมซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่งานจัดแสดงสินค้า
4. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุมีผลต่อการเลือกซื้อ โดยอายุ
ที่แตกต่างกันจะให้ความสำคัญกับปัจจัยทางการตลาดที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยส􀂷ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการในการให้บริการ ด้านทางกายภาพและรูปแบบการให้บริการมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์


Keywords


ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด; เฟอร์นิเจอร์; พฤติกรรมการเลือกซื้อ

Full Text:

PDF

References


กาญจนา กันโต. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อแนวโน้มพฤติกรรม การตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์แบบ Built-In ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เจนจิรา พรมวันดี. (2548). ปัจจัยทางการตลาดที่มีความสำคัญ ต่อการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์วู้ดเทค ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ตลาดเฟอร์นิเจอร์ในปี 2555, http://www.positioningmag.com. สืบค้นวันที่ 11 สิงหาคม 2556

บุญญฤทธิ์ โรจน์รัตน์. (2552). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้ของผู้บริโภค ในจังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปณิศา มีจินดา และศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2554). การบริหารตราเชิงกลยุทธ์และการสร้างคุณค่าตรา. กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร จำกัด

พรชัย ศักดิ์สกุลพรชัย. (2554). การประเมินสภาพเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไทย

เปรียบเทียบคู่แข่งในอาเซียน. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศุภนารี สุธารส. (2552). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดค้าปลีกที่มีผลต่อการตัดสินใจของ

นักท่องเที่ยวชาวไทยในการซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้สักในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมพงษ์ ศรีรุ่งเรืองชัย. (2552). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้สนร้าน Pinery Furniture ที่ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์สาขาบางกะปิ. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

สรรธกร สุภาควัฒน์. (2549). ปัจจัยผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อแนวโน้มพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์โลหะของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สุรีย์ลาวัณย์ สุวรรณรักษ์. (2555). แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดของร้านเฟอร์นิเจอร์ กรณีศึกษา จังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต.

Armstrong, Gary and Kotler, Philip. (2010). Marketing and Introduction. 9th ed. New Jersey: Pearson Education.

Kotler, Philip. 2003. Marketing Management. 11th ed. Northwestern University: Prentice-Hall.

Thailand’s Leading Property Site, สืบค้นวันที่ 11 สิงหาคม 2556 จาก http://www.ddproperty.com

William G. Zikmund. (2003). Business Research Methods. 7th ed. Cincinnati, OH: Thomson/South-Wwstern.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง