มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิของจำเลยผู้บริสุทธิ์

ชลัช วงษ์วิฑิต*

Abstract


ความผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของรัฐ อาจเกิดขึ้นได้ เสมอ แม้ว่าจะมีบทบัญญัติของกฎหมายที่กำหนดวิธีดำเนินกระบวนการเอาไว้อย่างรอบคอบและรัดกุมแล้วก็ตาม แต่หากผู้บริสุทธิ์ต้องถูกนำเข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรม โดยปราศจากการกลั่นกรองคดีที่มีประสิทธิภาพก็ย่อมส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง
ต่อจำเลยผู้บริสุทธิ์ รวมทั้งบุคคลที่เกี่ยวข้องกับจำเลยผู้บริสุทธิ์ ย่อมได้รับความทุกข์ทรมานพร้อมไปกับการสูญเสียอิสรภาพ ชื่อเสียง การเงิน สุขภาพจิต รวมทั้งบุคคลที่เกี่ยวข้องย่อมได้รับผลกระทบไปด้วย รัฐจึงต้องมีหน้าที่เข้ามาดูแล เพื่อเยียวยาต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น ทำให้มีกฏหมายที่นำมาเพื่อใช้แก้ไขเยียวยาความผิดพลาดขึ้น อันได้แก่ การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ หรือการจ่ายค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยผู้บริสุทธิ์ในคดีอาญา ในส่วนของการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นใหม่นั้น เป็นวิธีการแก้ไขผลของคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้วที่ให้ลงโทษแก่จำเลยผู้บริสุทธิ์ หากศาลเห็นว่า บุคคลผู้ต้องรับโทษอาญาโดยคำพิพากษาถึงที่สุด

ในคดีเดิม มิได้กระทำความผิด ก็ให้ศาลพิพากษา ยกคำพิพากษาเดิม และพิพากษาว่าบุคคลนั้นมิได้กระทำความผิด ส่วนการชดใช้ค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญานั้น เป็นมาตรการชดใช้ เยียวยาให้แก่ผู้บริสุทธิ์ในรูปของตัวเงินเป็นหลัก และต้องเป็นเหตุในลักษณะคดีที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น

การเยียวยาความเสียหายให้แก่จำเลยผู้บริสุทธิ์โดยอาศัยกฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่าเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพของจำเลย ผู้บริสุทธิ์ เพียงแต่ว่าการเยียวยาความเสียหายนั้น ทำอย่างไรจึงจะทำให้จำเลยผู้บริสุทธิ์ สามารถกลับคืนสู่สถานะเดิมหรือใกล้เคียงสถานะเดิมให้มากที่สุด และต้องสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันด้วย


Keywords


คุ้มครองสิทธิ; จำเลยผู้บริสุทธิ์; มาตรการทางกฎหมาย

Full Text:

PDF

References


ณรงค์ ใจหาญ และคณะ, รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่องสิทธิของผู้ต้องหา จำเลย และผู้ต้องโทษ

ในคดีอาญา, กรุงเทพฯ: (เสนอต่อคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2540) หน้า 90

ประธาน วัฒนวาณิชย์ และคณะ, สิทธิมนุษยชนและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในประเทศ, กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2529), หน้า 307.

ปรีดี เกษมทรัพย์, นิติปรัชญา, “โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2539”, พิมพ์ครั้งที่ 3. 2539, หน้า196-198.

รายการศึกษาวิจัย เรื่อง วิเคราะห์คำพิพากษาคดีปกครองของศาลปกครองต่าง ประเทศ, วารสารวิชาการศาลปกครอง ฉบับพิเศษ, (1 ตุลาคม 2552), หน้า 296-297.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์, “รายงานการวิจัย เรื่อง ความรับผิดของรัฐในระบบกฎหมายเยอรมัน”

เสนอ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, พฤษภาคม 2547, หน้า VII, 91-93.

สราวุธ เบญจกุล, ศาลกับการคุ้มครองสิทธิ “ผู้บริสุทธิ์”, บทความ, 2554

สมชาย หอมลออ, ปัญหาการพิจารณาค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จ􀂷ำเลยในคดีอาญา, บทความ,

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม, 27 กุมภาพันธ์ 2554.

อุดม รัฐอมฤต, นพนิธิ สุริยะ และ บรรเจิด สิงคะเนติ, การอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามมาตรา 28 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540. (กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดนานาสิ่งพิมพ์), หน้า 32-33.

อุทธิก แสนโกศิก, ทฤษฎีว่าด้วยการลงโทษทางอาญา (กรุงเทพฯ: ม.ป.พ., 2515).


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง