รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะภาวะผู้นำ เชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

จิรัฎฐ์ ฉัตร์เบญจนันท์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ (3) เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยเกี่ยวกับคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารส􀂷ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยการวิเคราะห์เอกสาร และการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ

ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจำนวน 302 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น จากประชากรจำนวน 1,364 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความตรงเชิงเนื้อหา 0.6-1.0 และค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.921-0.946 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ขั้นที่ 2 ศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยการวิเคราะห์เอกสารเพื่อยกร่างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และตรวจสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้ โดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจำนวน 600 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น จากจำนวนประชากร 1,364 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา 0.8-1.0 และค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.646-0.940 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติพรรณา และการความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยโปรแกรมสำเร็จรูป


Keywords


ปัจจัยที่ส่งผล; คุณลักษณะภาวะผู้นำ เชิงกลยุทธ์

Full Text:

PDF

References


กมล โสวาปี. (2557). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต

สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กิตติยา สีอ่อน. (2547). โมเดลเชิงสาเหตุประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในสำหรับกลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพ. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เก็จกนก สีอ่อน. (2546). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการใน ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร

ดุษฎี บัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กัลยรัตน์ เมืองสง. (2550). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ เชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา

ขั้น พื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

เชวงศักดิ์ พฤกษเทเวศ. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.

จินตนา บุญบงการ และ ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2548). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: เม็ดทราย พริ้นติ้ง. ทิศนา แขมมณี, (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้

ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. 2548. การบริหารราชการแนวใหม่ บริบทและเทคนิควิธี. กรุงเทพฯ: บริษัท วิชั่นพริ้นท์ แอนด์มีเดีย จำกัด.

ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2545). การบริหารมุ่งผลสัมฤทธ์. กรุงเทพฯ: บริษัท กราฟิคฟอร์แมท. (ไทยแลนด์) จำกัด.

ธงชัย สันติวงษ์. (2546). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 11 กรุงเทพฯ: ประชุมช่าง.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล สถิติวิเคราะห์ส􀄬ำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภดล ร่มโพธิ์. (2545). Balanced Scorecard กับมหาวิทยาลัยในประทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ. 29(94), 61-69.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2550). การจัดการสานักงาน: Office Management. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์ บริษัท เซ็นทรัล เอ็กเพรส จากัด

ฐิติมา จำนงค์เลิศ. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วย บรรยากาศองค์การกับประสิทธิผลของหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รวีวรรณ กลิ่นหอม. (2550). การพัฒนารูปแบบการวัดและเครื่องมือวัดภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของ

ผู้อำนวยการโรงเรียนเอกชนสายสามัญ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

วันเพ็ญ บุรีสูงเนิน, (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

เขตพัฒนาพื้นที่ชายฝังทะเลตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ (2549). การบริหารเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 16 กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

สมยศ นาวีการ. (2550). กรณีศึกษาการบริหารและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ

เสน่ห์ จุ้ยโต. (2552). วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ผู้นำยุคใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุเมธ แสงนาทร. (2547). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย

ภาคเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุเมธ เดียวอิศเรศ. (2537). พฤติกรรมผู้นำทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: รุ่งวัฒนาการพิมพ์

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550). ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2548). ทฤษฎีองค์กรฉบับมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

Adair, John Eric. (2010). Strategic leadership: How to think and plan strategically and provide direction. London: KoganPage

Bass, B.M. & Stogdill. (1990). Handbook of Leadership: Theory Research and Managerial Application. 3rd. New York: Fire Press.

Bollen, K.A. (1989). Structure Equations with Latent Variables. New York: wiley.

Certo, S.C. and peter, J.P. (1991). Strategic Management: Concept and Applications. NewYork: McGraw-Hill.

Davies, B. (2003). Rethinking Strategy and Strategic Leadership in school. Educational Management andAdministration. 31(3), 295-312.

Dess, G. G. & Miller, A. (1993). Strategic Management. (Int’l Ed.). Singapore: McGraw Hill

Dubin, J. A. (1998). Leadership Research Findings, Practice, and Skills. Honghton Mifflin Company.

Hersey, P. and Blanchard, H. B. (1993). Management of Organizational Behavior: Utilizing Human Resources. Englewood. Boston: PWS-Kent.

Kaplan, R.S. & Norton, D.P. (1996). The Balanced Score card. Boston: Massachusetts Harvard Business

Robbins, S. P., & Coulter, M. (2003). Management. London: Prentice-Hal.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง