ผลกระทบของลักษณะทางกายภาพที่มีต่อการเกิดคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ ในชุมชนประเภททาวน์เฮาส์ กรณีศึกษาที่อยู่อาศัยในเขตบางเขน
Abstract
อาชญากรรมเป็นปรากฎการณ์ที่มีผลกระทบต่อความสงบสุขของประชาชน ก่อให้เกิดความ
เสียหายทางเศรษฐกิจ มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายในประเทศ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในที่สุด อาชญากรรมเป็นปัญหาสำคัญของเมืองใหญ่ทั่วโลก กรุงเทพ มหานครก็เป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งที่ประสบปัญหาอาชญากรรม เช่นเดียวกับเมืองใหญ่ทั้งหลาย ทั้งนี้เนื่องจากสภาพแวดล้อมในเมืองมีส่วนชักนำให้มนุษย์มีพฤติกรรมที่เลวลง และเอื้ออำนวยต่อ
ผู้กระทำผิดในการประกอบอาชญากรรม
การศึกษานี้ เป็นการศึกษาเบื้องต้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมของชุมชนประเภททาวน์เฮาส์ที่มีต่ออาชญากรรมประเภทประทุษร้ายต่อทรัพย์ ซึ่งเป็นอาชญากรรมที่ไม่มีเงื่อนงำและเกิดจากการฉกฉวยโอกาสมากที่สุด จึงมีส่วนสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพมากที่สุด โดยถือว่า
ปัจจัยทางกายภาพเป็นปัจจัยแฝงของการเกิดคดีอาชญากรรม เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิด
สิ่งจูงใจหรือโอกาสให้คนร้ายตัดสินใจกระทำผิด
ซึ่งอาชญากรรมประเภทประทุษร้ายต่อทรัพย์เกิดขึ้นอย่างหนาแน่นในที่อยู่อาศัยทุกประเภท โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยประเภททาวน์เฮาส์ ซึ่งผู้อยู่อาศัยในเขตบางเขนประสบกับปัญหาอาชญากรรมประเภทประทุษร้ายต่อทรัพย์สูงย่านหนึ่งของกรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้เป็นการศึกษาสาเหตุจากข้อบกพร่องของสภาพแวดล้อมทางกายภาพในที่พักอาศัย หรือบริเวณที่พักอาศัยของชุมชนประเภททาวน์เฮาส์ เป็นการศึกษาถึงสิ่งที่สถาปนิกและนักวางแผนได้กำหนดลักษณะทางกายภาพ ที่ส่งผลเอื้ออำนวยต่อการเกิดอาชญากรรมประเภทประทุษร้ายต่อทรัพย์อย่างไรบ้าง โดยสมมติฐานของการวิจัยนี้คือ ลักษณะทางกายภาพของชุมชน มีความสัมพันธ์กับลักษณะคดีอาชญากรรมประเภทประทุษร้ายต่อทรัพย์ ซึ่งสมมติฐานนี้เป็นไปตามทฤษฎีจิตวิทยาสภาพแวดล้อมที่ยอมรับกันว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์ในการศึกษานี้ ได้นำแนวความคิดทางด้านนิเวศน์วิทยาอาชญากรรม อาชญาวิทยา แนวความคิดว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรม อิทธิพลของสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีต่อพฤติกรรมมนุษย์และงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาผสมผสานกันเป็นแนวทางในการศึกษาโดยได้เลือกตัวอย่าง ซึ่งเป็น
ผู้เสียหายในคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์จากชุมชนต่างๆ ในพื้นที่เขตบางเขนจำนวน 310 ราย โดยใช้แบบสอบถามและแบบสังเกตการณ์ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
Keywords
Full Text:
PDFReferences
ชวลิต ยอดมณี พล.ต.ต., คำบรรยายปัญหายาเสพติดให้โทษ, 3 ตุลาคม 2527, เอกสารโรเนียว
ชาย เสวิกุล พล.ต.ต., อาชญาวิทยาและทัณฑะวิทยา (กรุงเทพมหานคร; โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2517)
จีรพรรณ กาญจนจิตรา, ระเบียบวิธีการวิจัยขั้นสูงทางสังคมวิทยา-มานุษยวิทยา, พิมพ์ครั้งที่สอง(กรุงเทพมหานคร; หนังสือประกอบการสอนวิชา So 452 มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2530)
เจียมจิตร ดวงอุไร, ร.ต.ท.หญิง, การศึกษาความสัมพันธ์ของสภาวะแวดล้อมทางกายภาพกับการเกิดคดีอาชญากรรม กรณีศึกษาเขตสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
สาขาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2532)
ญาณพล ยั่งยืน, ร.ต.ท., การศึกษาทางด้านนิเวศน์วิทยาเพื่อการวางแผนป้องกันอาชญากรรม
ในเขตกรุงเทพมหานคร (ฝั่งพระนคร) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาการวางแผน
ภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524)
พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ, สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางการบริหาร, พิมพ์ครั้งที่สอง (กรุงเทพมหานคร; สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2538)
ผจงจิตต์ อธิคมนันทะ, สังคมวิทยาว่าด้วยอาชญากรรมและการลงโทษ (กรุงเทพมหานคร; หนังสือประกอบการสอนวิชา So 303 มหาวิทยาลัยรามคำแหง ,
วิเชียร เกตุสิงห์, หลักการสร้างและวิเคราะห์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (กรุงเทพมหานคร; สำนักพิมพ์
ไทยวัฒนาพานิช, 2530)
วิเชียร เกตุสิงห์, สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย, พิมพ์ครั้งที่สอง (กรุงเทพมหานคร; สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2532)
วิไล วงศ์สืบชาติ, สภาวะแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิต; วารสารประชากรศาสตร์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2
กันยายน 2535
วิไล วงศ์สืบชาติ, การมีลักษณะแบบเมือง: จากอดีตสู่อนาคต; วารสารประชากรศาสตร์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มีนาคม 2536
วีนัส พีชวณิชย์, สถิติสำหรับนักสังคมศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่เจ็ด (กรุงเทพมหานคร; คณะวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2537) วารสารบัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 82
มานพ พงศทัต, ที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมของชุมชนและเมือง; เอกสารประกอบการสัมมนาเชิงวิชาการเรื่องแนวความคิดภูมิสถาปัตยกรรมกับโครงการที่อยู่อาศัย (จัดโดย นสพ.ฐานเศรษฐกิจ
ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์, 28 ตุลาคม 2537)
มานพ พงศทัต, แนวโน้มการพัฒนาที่อยู่อาศัย (กรุงเทพมหานคร; เอกสารการสัมมนา, 2524)
ศิริสมบูรณ์ สายโกสุม, จิตวิทยาทั่วไป (กรุงเทพมหานคร; หนังสือประกอบการสอนวิชา Pc 103 มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2536)
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ (กรุงเทพมหานคร; สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2532)
อดุลย์ เอี่ยมเกื้อกูล, ร.ต.ท., การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจกับปัญหาอาชญากรรม กรณีศึกษาปัญหา
เฉพาะประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2519)
เอกรินทร์ สิกขากูล, ร.ต.ท., ผลกระทบของสภาพแวดล้อมทางกายภาพในชุมชนประเภทที่อยู่อาศัยกับ
การเกิดคดีอาชญากรรม กรณีศึกษาของการประทุษร้ายต่อทรัพย์ในชุมชนในเขตพื้นที่
รับผิดชอบสถานีตำรวจนครบาลสุทธิสาร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546)
Kan, Angela W.S., A Study of Neighbourly Interaction in Public Housing: The Case of
Hong Kong, in Public Housing in Hong Kong ed. ,Luke S.W.Wong (Hong Kong: Heinemann Education Book,1978)
Lynch, Kevin., Site Planning (2nd. ,ed.; Cambridge:The M.I.T. Press,1973)
Newman, Oscar., Defensible Space (2nd. ed., New York: Macmillan publish Co. Inc.,1976)
Likhirt Dhiravagin., Political Attitudes of the Bureaveratic Elite and Modernization in
Thailand, Bangkok, Thai Watana Panich Co., Ltd., 1993
วารสารบัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง