การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ภิญโญ จูสี

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อประเมินความเป็นไปได้และความมีประโยชน์ของรูปแบบการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้วิจัยดำเนินการสังเคราะห์สภาพและปัญหาในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิเคราะห์ปัจจัย
ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อยกร่างรูปแบบการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และตรวจสอบรูปแบบการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้เทคนิคการประชุมสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Focus Group Discussion) จำนวน 9 คน ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ผลการประเมินความเป็นไปได้และความมีประโยชน์ของรูปแบบการดำเนินงานการประกันคุณภาพ

การศึกษาภายในของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามความคิดเห็นของครู
ในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 310 คน โดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า:
1. รูปแบบการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย วงจรคุณภาพ2 และเงื่อนไขความสำเร็จ
2. รูปแบบการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความเป็นไปได้และมีประโยชน์ ในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาพรวมและรายด้านในระดับมาก


Keywords


การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน; องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Full Text:

PDF

References


เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). มองฝันวันข้างหน้า: วิสัยทัศน์ประเทศไทย ปี 2560. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). สถิตข้อมูลโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีการศึกษา 2557. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.

ณัฐพล ชุมวรฐายี. (2545). บันไดสู่การประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท บุคพอย์ทจำกัด.

ธิติภพ ชยธวัช. (2548). แม่ไม้บริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ซี.พี. บุ๊ค แสตนดาร์ด.

บุญชม ศรีสะอาด. (2547). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2540). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

และปกเจริญผล. และความเป็นผู้นำทางการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่ง แก้วแดง. (2540). ปฏิวัติการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

วีรพจน์ ลือประสิทธิ์สกุล. (2543). TQM Living Handbook ภาคเจ็ด คู่มือปรับปรุงคุณภาพงาน สำหรับพนักงานทุกระดับในองค์กรทีคิวเอ็ม. กรุงเทพฯ: บริษัท ทีคิวเอ็มเบสท์ จำกัด.

สมนึก ภัททิยธนี. (2546). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.วารสารบัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 68

ส􀂷ำนักประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น. (2548). มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษา

ขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาสังกัดองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.

สาริน ผดุงสวัสดิ์. (2553). การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ที่มีคุณภาพการจัดการศึกษาในระดับแตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภางค์ จันทวานิช. (2543). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Best, J.W. (1981). Research in Education. 4th ed. Englewood Cliffs, New Jersey:

Prentice-Hall.

Hoy, Wayne. K. & ecil G. Miskel. (1991). Education administration: Thoery. Research and practice. 4thed. New York: Mcgraw-Hill.

Hoyle, R. H., Harris, M. J., & Judd, C. M. (2002). Research method in social relations. 7th ed. United States of America: Thomson Learning.

Jane B. Faulkner. (2002). Balding Educational Quality Criteria as another Model for Accreditation American Community Colleges. Partial fulfillment of the requirements for the degree of Doctor of Education. Oregon State University.

John Davies. (2004). The Implementation of the European Foundation For Quality Management’s (EFQM) Excellence Model in Academic Units of United Kingdom Universities. Management Research Institute School of Management University of Salford, Salford, United Kingdom Universities.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง