การออกแบบกระบวนการบริหารผลการปฏิบัติราชการ ของกองนโยบายและแผนมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

โชติกา เขียนนิล

Abstract


การวิจัยเรื่อง กระบวนการบริหารผลการปฏิบัติราชการกองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ
1) เพื่อออกแบบกระบวนการบริหารผลการปฏิบัติราชการ 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของคู่มือกระบวนการบริหารผลการปฏิบัติราชการ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
โดยบูรณาการและประยุกต์ใช้ขั้นตอนการ
ออกแบบกระบวนการของเรนเมกเกอร์ ผนวกกับ
วีรพจน์ ลือประสิทธิ์สกุล กลุ่มประชากรในการวิจัย
แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มบุคลากรกองนโยบายและแผน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และกลุ่มหัวหน้าส่วนงานจากผลการออกแบบกระบวนการบริหาร
ผลการปฏิบัติราชการ ผู้วิจัยได้ 1) กระบวนการบริหารบริหารผลการปฏิบัติราชการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก คือ ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดกลยุทธ์ ขั้นตอนที่ 2 การถ่ายทอดกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ
ขั้นตอนที่ 3 การติดตามประเมินผลและขั้นตอนที่ 4 การพิจารณาความดีความชอบ และ 2) คู่มือกระบวนการบริหารผลการปฏิบัติราชการ โดยผลการตรวจสอบความเหมาะสมของกระบวนการ

และคู่มือกระบวนการบริหารผลการปฏิบัติราชการ โดยใช้มติเอกฉันท์ของกลุ่มหัวหน้าส่วนงาน
กองนโยบายและแผน พบว่า กระบวนการและคู่มือบริหารผลการปฏิบัติราชการมีความเหมาะสม
และสามารถนำไปปฏิบัติได้


Keywords


การออกแบบกระบวนการ; การบริหารผลการปฏิบัติราชการ

Full Text:

PDF

References


สำนักนายกรัฐมนตรี. (2546). พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. หมวด 3 มาตรา 9.

ศิริกุล ประยูรพงษ์. (2552). การปรับปรุงกระบวนการซ่อมบำรุงถังน้ำมันของแผนกซ่อมบำรุง

บริษัท น้ำมันไออาร์พีซี จำกัด. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการคุณภาพมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เชาวนี พันธุ์ลาภะ. (2550). กระบวนการปฏิบัติงานประกันคุณภาพสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการคุณภาพมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วีรพจน์ ลือประสิทธิ์กุล. (2545). TQM LIVING HANDBOOK ภาคห้า การบริหารกระบวนการอย่างมีคุณภาพ Quality Process Management ตอนที่ 2 แนวทางการปรับปรุง (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บีพีอาร์ แอนด์ ทีคิวเอ็ม คอนชัลแทนท์. กระทรวงศึกษาธิการ.

พีรพัฒน์ พจน์สมพงษ์. (2553). การถ่ายทอดกลยุทธ์ด้วยวิธีการแบบดุลยภาพของส่วนพัฒนาบุคคล

กองการเจ้าหน้าที่ กรมพัฒนาที่ดิน. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สาริณี พันธ์สวัสดิ์. (2548). การกระจายกลยุทธ์สู่การปฏิบัติด้วยวิธีการแบบดุลยภาพของโรงพยาบาลตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ชุลีกร แม้นกลิ่นเนียม. (2557). การออกแบบกระบวนการถ่ายทอดตัวชี้วัดระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล

ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาการจัดการคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Niven, P.P. (2002). Balanced Scorecard Step by Step: Maximizing Performance.

New York: John Wiley and Sons.

Rainmakers. (2002). Business Process Redesign. Retrieved April 20, 2005, from Http://www.rainmkrs.com/featured_cumberland_redesign.htm.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง