บุพปัจจัยของผู้บริหารสถานศึกษาครู และการร่วมมือของชุมชนในการจัดการศึกษาที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานประถมศึกษาสมุทรปราการ

กัญจนภัค คำปรีชา

Abstract


กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นนโยบายที่สถานศึกษาต้องให้ความสำคัญ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโดยรวมในโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าพึงพอใจ และเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดอื่นๆ พบว่า อยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา คุณภาพของครูผู้สอน การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาสมุทรปราการ  และ 2) ศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา คุณภาพของครูผู้สอน และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ จำนวน 260 คน ซึ่งได้จากการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์แบบจำลองสมการเชิงโครงสร้าง

            ผลการวิจัย พบว่า 1) ในภาพรวม ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา คุณภาพของครูผู้สอน การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายองค์ประกอบ พบว่า ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา คุณภาพของครูผู้สอน และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาอยู่ในระดับมาก ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนอยู่ในระดับปานกลาง  และ2) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา คุณภาพของครูผู้สอน และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษามีอิทธิพลทางตรงกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ ตลอดจนเขตการศึกษาอื่นๆ โดยงานวิจัยนี้พบว่า ปัจจัยสำคัญในการช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ได้แก่ การที่ผู้บริหารสถานศึกษาสนับสนุนให้ครูผู้สอนได้พัฒนาเพิ่มพูนความรู้อย่างต่อเนื่อง การที่ครูผู้สอนมีคุณวุฒิการศึกษาที่ตรงกับวิชาที่สอน และการที่หน่วยงานในชุมชนสนับสนุนให้ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเป็นสื่อใน


Keywords


ปัจจัยในการบริหาร, การบริหารสถานศึกษา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Full Text:

Untitled

References


ธีระ รุญเจริญ (2550) สภาพปัญหาการบริหาร และการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : วี.ที.ซี. คอมมินิเคชั่น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. (2553). รายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2555 เขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. สมุทรปราการ : ผู้แต่ง.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1.

สำเริง บุญเรืองรัตน์ (2539). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2551). ปัจจัยทางการบริหารที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน: การพัฒนาและการตรวจสอบความตรงของตัวแบบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Creemers & Scheerens (1989). “Developments in Educational Effectives Research Programme”, International Journal of Educational Research, 21(2): 125 – 139.

Epstein et al. (1997). Involving parents in homework in the middle grades. (Research Bulletin No.18.)

Fraser et at. (1987). “Synthesis of educational productivity research”. International Journal of Educational Research, 11 (2).

Johnson, D.W., Johnson, R.T., and Smith, K.A. (1991). Active learning: Cooperation in the college classroom. Edina, MN: Interaction Book Company.

Wang et al. (1990). “Mycorrhiza mutants of Lotus japonicus define genetically independent steps during symbiotic infection”. Molecular Plant-Microbe Interactions, 11, 933-936.

Walberg. (1984). Families as Partners in Educational Productivity. Phi Delta Kap-pan: in press.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง