ทัศนคติของคนในชุมชนที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยว : กรณีศึกษา ดอยแม่สลอง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ทัศนคติของคนในชุมชนดอยแม่สลองที่มีต่อ
การพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชน โดยวิเคราะห์จากคนในชุมชนที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวจำนวน 17 คน และคนในชุมชนที่มิได้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว 16 คน ใช้วิธีการคัดเลือกโดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก ร่วมกับวิธีการคัดเลือกแบบ Snow ball ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง การสัมภาษณ์กลุ่ม และการสังเกตผลการวิจัยพบว่า ทัศนคติของคนในชุมชนที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวของผู้ให้ข้อมูลทั้ง 2 กลุ่ม มีความใกล้เคียงกัน ในด้านการคิดและการรับรู้ คือ การท่องเที่ยวสร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในชุมชน ทำให้ชุมชนมีความเจริญขึ้น ความเป็นอยู่ดีขึ้น ด้านอารมณ์ความรู้สึกผู้ให้ข้อมูลทั้ง 2 กลุ่ม มีความรู้สึกในทางบวกต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในชุมชน ต้องการให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวให้ดียิ่งขึ้น ด้านพฤติกรรมคนในชุมชนมีความสามัคคีกันในการอนุรักษ์วัฒนธรรม วิถีชีวิต และสิ่งแวดล้อม
Keywords
Full Text:
UntitledReferences
กรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). เมืองรอง. สืบค้นเมื่อ 14 มิ.ย. 62 เข้าถึงได้จาก: http://golocal.tourismthailand.org/#highlight
จุฑามาส กันตพลธิติมา. (2560). ภาพลักษณ์และทัศนคติต่อการท่องเที่ยวในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรีของ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ส่งผลต่อการกลับมาเยือน. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ไพศาล หวังพานิช. (2523). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
รัตนะ บัวสนธ์. (2560). ปรัชญาการวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์. (2558). พฤติกรรม นักท่องเที่ยว. กรุงเทพ: โอเดียนสโตร์.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2548). พฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร
สมหมาย อุดมวิทิต. และ วรานันต์ ตันติเวทย์. (2560). ทัศนคติของชุมชนต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวภายใน พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าวังน้ำเขียว-ป่าเขาภูหลวง จังหวัดนครราชสีมา. ปีที่4 วารสารเศรษฐศาสตร์ และกลยุทธ์การจัดการ คณะเศรษฐศาสตร์.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานจังหวัดเชียงราย. (2559). แผนการพัฒนาจังหวัดเชียงราย. สืบค้นเมื่อ 14 มิ.ย. 62 เข้าถึงได้จาก http://www.chiangrai.net/cpwp/?wpfb_dl=432
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สลองนอก. (ม.ป.ป.). ย้อนรอย แม่สลอง. เข้าถึงได้จาก: http://www.maesalongnok.go.th
อุทุมพร เรืองฤทธิ์. (2560). ทัศนคติและการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีต่อการจัดการท่องเที่ยวตลาดน้ำคลองลัด มะยม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
อภิดิฐ อุทิศธรรมศักดิ์. (2560). ทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงถวิลหาอดีต กรณีศึกษา: เพลินวาน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Ajzen, I. & Fishbein, M. (1980). Understanding attitude and predicting social behavior. Englewood cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Braun, V. & Clarke, V. (2006). Using thematic analysis in Psychology. Qualitative Research in Psychology.
Fishbein, M. & Ajzen, I. (1975). Belief, attitude, intention and behavior: An Introduction to theory and research. Reading, MA: Addison-Wesley.
Fridgen, J. (1991). Dimensions of tourism. East Lansing, MI: American Hotel and Motel Association Educational Institute.
Gibson, J.L., Ivancevich, J.M. & Konopaske, R. (2011). Organization: Behavior, Structure, Processes
(14 th ed.). New York: Mcgraw-hill
Hawkins, D., & Mothersbaugh, D. (2012). Consumer Behavior: Building Marketing Strategy (12 th ed.). Boston: Mcgraw-hill education
Kassin, S., Fein, S., & Markus, H.R. (2013). Social Psychology (9 th ed.). Belmont: Cengage learning
Newcomb, T.M. (1954). Social psychology. New York: Dryden Press.
Thomas, W.I. and Znaniecki, F. (1918). The Polish Peasant in Europe and America volumes I. New York: Dover Publications.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง