การสร้างความตระหนักในกลุ่มคนวัยทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมการเป็น ผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ

ลัดดา หิรัญยวา, หุดา วงษ์ยิ้ม, นวพร ทองนุช, ปราณี ตรีทศกุล, อภิญญา วิเศษสิงห์, รุ่งลักษมี รอดขำ, อโนชา โรจนพานิช, สุภาพ อัครปทุมวงศ์, สิทธิชัย ธรรมเสน่ห์

Abstract


การศึกษาวิจัยเรื่อง “การสร้างความตระหนักในกลุ่มคนวัยทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมการเป็นผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการสร้างความตระหนักในกลุ่มคนวัยทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมการเป็นผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการเตรียมความพร้อมกลุ่มคนวัยทำงานเพื่อเป็นผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ  กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มคนวัยทำงานจำนวน 320 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ  t-test การวิเคราะห์หาค่าแปรปรวนทางเดียว One-Way Analysis of variance ทดสอบความแตกต่างระหว่างคู่โดยวิธีของเซฟเฟ่

 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มคนวัยทำงานมีการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสุขภาพ  อยู่ในระดับมาก จากการเปรียบเทียบกลุ่มคนวัยทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมการเป็นผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสุขภาพและรวมทุกด้าน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส รายได้และที่อยู่อาศัย โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มคนวัยทำงานเพศหญิง มีการเตรียมความพร้อมการเป็นผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพสูงกว่าเพศชาย อายุ 30 – 35 ปี,  36 – 40 ปี และ 40 ปีขึ้นไป มีการเตรียมความพร้อมการเป็นผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ สูงกว่า กลุ่มคนวัยทำงานที่มี อายุน้อยกว่า 30 ปี ระดับการศึกษา ปริญญาโท และปริญญาเอกมีการเตรียมความพร้อมการเป็นผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ สูงกว่ากลุ่มคนวัยทำงานที่เรียนปริญญาตรี สถานภาพการสมรส สมรสและหย่าร้าง/แยกกันอยู่ มีการเตรียมความพร้อมการเป็นผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ สูงกว่า กลุ่มคนวัยทำงานที่มี สถานโสด รายได้ 30,001-45,000 บาท , 45,001-60,000 บาท และมากกว่า 60,000 บาท มีการเตรียมความพร้อมการเป็นผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพสูงกว่า กลุ่มคนวัยทำงานที่มี รายได้ 15,000-30,000 บาท และกลุ่มคนวัยทำงาน ที่อยู่อาศัย เช่าอยู่และอาศัยอยู่กับครอบครัว/ผู้อื่น มีการเตรียมความพร้อมการเป็นผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ สูงกว่า กลุ่มคนวัยทำงานที่มี ที่อยู่อาศัย การเป็นเจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.