การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กำหนดเส้นทางขนย้ายผู้ประสบอุทกภัยและการเลือกที่ตั้ง ศูนย์พักพิงชั่วคราว

สิทธิพร เพชรดี, สุพรชัย อุทัยนฤมล

Abstract


จากสถานการณ์อุทกภัยที่มักจะมีพื้นที่เป็นวงกว้างและมีระดับน้ำท่วมขังในระดับที่สูง ทำให้หน่วยราชการต้องตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวให้ผู้ประสบภัยอยู่อาศัยจนกว่าระดับน้ำจะลดลงสู่ภาวะปกติ แต่ผู้ประสบภัยมักจะไม่ยินยอมย้ายไปอยู่ที่ศูนย์พักพิงดังกล่าว จึงได้ศึกษาการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กำหนดเส้นทางขนย้ายผู้ประสบอุทกภัยและการเลือกที่ตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ประสบภัย โดยการซ้อนทับแผนที่เคยเกิดน้ำท่วมย้อนหลัง 5 ปี ของกรมโยธาธิการและผังเมืองกับแผนที่ที่ตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2558 และแผนที่ Google Earth ที่ถ่ายในปัจจุบันเพื่อทราบถึงจำนวนบ้านที่จะมีโอกาสถูกน้ำท่วมและรัศมีบริการของศูนย์พักพิงชั่วคราวซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าศูนย์พักพิงชั่วคราวที่จังหวัดกำหนดไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ประสบภัยและอยู่ห่างจากที่อยู่อาศัยเดิมจึงได้มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) ตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวเพิ่มเติมโดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด 2) มีระยะทางที่ใกล้กับชุมชนและที่อยู่อาศัยของผู้อพยพ 3) กำหนดรัศมีพื้นที่บริการและให้ผู้ประสบภัยแต่ละพื้นที่ต้องอพยพไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราวที่กำหนดให้

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.