วิเคราะห์ภาพสะท้อนสังคมไทยและสิ่งแวดล้อมในนวนิยายที่ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว พ.ศ. 2553-2558

ZHOU YUNYAN, รัชนีพร ศรีรักษา

Abstract


การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนสังคมไทยและสิ่งแวดล้อมในนวนิยายที่ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว พ.ศ. 2553-2558 จำนวน 5 เล่มซึ่งมีเรื่องราวกล่าวถึงวิถีการดำเนินชีวิตของชาวชนบทที่มีความผูกพันกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                   ผลการวิจัยพบว่านวนิยายที่ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวสะท้อนให้เห็นถึงภาพสังคมไทยและสิ่งแวดล้อมใน 3 ด้าน คือ 1) ด้านชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย ลักษณะที่อยู่อาศัยของคนไทย พบว่า คนไทยในชนบทอาศัยอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติและใช้วัสดุจากธรรมชาติเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ พบว่า คนไทยมีการประกอบอาชีพที่แตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น และคนไทยทางภาคใต้ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพชาวประมง อาหารการกิน พบว่า อาหารของคนไทยในชนบทส่วนใหญ่ใช้วัตถุดิบในการทำอาหารที่มาจากธรรมชาติ 2) ด้านวัฒนธรรมสะท้อนให้เห็นประเพณีและความเชื่อต่าง ๆ ในด้านประเพณี พบว่า คนไทยในภาคใต้มีประเพณีเข้าสุหนัตของชาวมุสลิมที่มีเอกลักษณ์แตกแต่งจากคนไทยกลุ่มอื่น ด้านความเชื่อพบว่า ชาวเงาะมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องฝันที่แตกต่างจากคนไทยกลุ่มอื่นคือ ชาวเงาะเชื่อว่าคนที่เสียชีวิตไปแล้วจะไม่เข้าฝันของคนที่ยังมีชีวิตอยู่ 3) ด้านคุณธรรมจริยธรรม สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยเป็นคนที่มีน้ำใจ เสียสละ และมีความรับผิดชอบ เป็นคุณธรรมจริยธรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของการดำเนินชีวิตที่ทุกคนต้องมีต่อสิ่งมีชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.