การศึกษาสภาพการดำเนินงานการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช

มลิวัลย์ ปานมาตย์, ไพบูลย์ แจ่มพงษ์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานการบริหารจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 130 แห่ง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าสามารถเก็บรวบรวมแบบสอบถามได้ทั้งหมด 93 แห่ง (ร้อยละ 71.54)  โดยข้อมูลปัจจัยที่สนับสนุนการดำเนินงาน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ( =2.87, S.D.=1.11) และผลการวิเคราะห์กระบวนการดำเนินงาน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ( =3.18, S.D.=1.13) และปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่ามีปริมาณ 1,588.95 ตันต่อวัน 579,969 ตันต่อปี ปริมาณขยะมูลฝอยที่ได้รับการจัดการ 1,558.34 ตันต่อวัน 568,793 ตันต่อปี และปริมาณขยะมูลฝอยตกค้าง 30.62 ตันต่อวัน 11,176 ตันต่อปี ทั้งนี้ ปัญหา และอุปสรรคของการบริหารจัดการขยะมูลฝอยตกค้าง พบว่า ไม่มีนโยบายที่ชัดเจนจากผู้บริหารหน่วยงาน บุคลากรไม่เพียงพอและไม่มีความรู้โดยตรง งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรน้อยไม่เพียงพอ ไม่มีวัสดุอุปกรณ์ การประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนยังมีน้อยและไม่ทั่วถึง และขาดจิตสำนึกในการคัดแยกขยะมูลฝอย สถานที่และระยะทางในการขนส่งไปยังพื้นที่ฝังกลบไกล ไม่มีรถเก็บขนขยะมูลฝอย ไม่มีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย และแนวทางการแก้ไขปัญหา จัดให้มีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้เฉพาะด้าน เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ รัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกำหนดอัตราค่าบริการให้มีความสอดคล้องกับปริมาณที่เกิดขึ้นจริง ให้มีการออกกฎหมาย คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนความร่วมมือให้เป็นรูปธรรม ควรจัดให้มีการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยให้กับประชาชน จัดให้มีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยในพื้นที่ดูแลของหน่วยงานเพื่อให้สามารถขนส่งได้สะดวกและรวดเร็ว

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.