การวิเคราะห์โมเดลราส์ชเพื่อตรวจสอบแผนที่โครงสร้างและสำรวจแนวคิดหน่วยการเรียนรู้ระบบประสาทของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ชนิสรา ผลจันทร์, พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ, วีระศักดิ์ ฟุ้งเฟื่อง

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบแผนที่โครงสร้างและสำรวจแนวคิดหน่วยการเรียนรู้ระบบประสาท ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พัฒนาและหาคุณภาพเครื่องมือ ตามกรอบแนวคิดระบบการประเมิน Berkeley Evaluation and Assessment Research (BEAR Assessment) ประกอบ 4 ขั้นตอนได้แก่ การสร้างแผนที่โครงสร้างเชิงสันนิษฐาน การออกแบบเครื่องมือ การระบุแบบแผนการตอบสนอง และการตรวจสอบโมเดลการวัด ใช้คำถามแบบปลายเปิดและปรนัยแบบ 4 ตัวเลือก เพื่อสำรวจความเข้าใจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 67 คน และหาความสอดคล้องกลมกลืนระหว่างโมเดลราส์ชสำหรับข้อมูลพหุวิภาคกับข้อมูลเชิงประจักษ์ วิเคราะห์ความยากง่ายและความสามารถของผู้เรียนในการตอบคำถาม ผลการวิจัยพบว่าข้อมูลเชิงประจักษ์สอดคล้องกลมกลืนกับโมเดลการวัด (ค่า Outfit ต่ำสุด 0.99 สูงสุด 1.00 ค่า Infit ต่ำสุด 0.99  สูงสุด 1.00) แนวคิดที่ยากที่สุด ได้แก่ โครงสร้างและหน้าที่ของสมอง (xsi = 4.18) แนวคิดเรื่องระบบประสาทรอบนอก (xsi = 2.31) และแนวคิดเรื่องการทำงานของระบบประสาทโซมาติก (xsi = 1.62) แนวคิดที่ง่ายที่สุด ได้แก่ แนวคิดเรื่องส่วนประกอบและหน้าที่ของตา (xsi = -0.85) แนวคิดเรื่องส่วนประกอบและหน้าที่ของตา (เซลล์รับแสง) (xsi = -0.78) และแนวคิดเรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ประสาท (xsi = 0.07) โดยนักเรียนมีค่าเฉลี่ยความสามารถเท่ากับ -0.068 logit ข้อค้นพบนี้จะเป็นประโยชน์ต่อครูในการออกแบบการจัดการเรียนรู้แนวคิดที่กำหนดในหลักสูตรและการประเมินที่สอดคล้องกันและส่งเสริมความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักเรียน

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.