ปัจจัยที่มีผลต่อการคิดวิเคราะห์ในวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2

จีรวรรณ สุขหลังสวน, ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์, สังวรณ์ งัดกระโทก

Abstract


งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความรู้เดิมในวิทยาศาสตร์ และการคิดวิเคราะห์ในวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 2) สร้างสมการทำนายการคิดวิเคราะห์ในวิชาวิทยาศาสตร์จากตัวแปรเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และความรู้เดิมในวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียน จำนวน 138 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบ จำนวน 1 ฉบับ และแบบวัด จำนวน 2 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ แรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ และความรู้เดิมในวิทยาศาสตร์ ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ในวิชาวิทยาศาสตร์ มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) สร้างสมการทำนายการคิดวิเคราะห์ในวิชาวิทยาศาสตร์จากตัวแปรเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ (X1) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (X2) และความรู้เดิมในวิทยาศาสตร์ของนักเรียน (X3) ได้ค่าน้ำหนักความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ .413 และร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการคิดวิเคราะห์ในวิชาวิทยาศาสตร์ได้ร้อยละ 17.00 3) สมการทำนายการคิดวิเคราะห์ในวิชาวิทยาศาสตร์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้แก่

Z = -.028ZX1+ .008ZX2 + .412ZX3


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.